โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... มะขามหวานในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 11 เมษายน 2559
 
 
หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       หนอนจะเจาะกิ่งหรือลำต้นเล็กๆ เข้าไปกัดกินอยู่ภายใน ทำให้กิ่งและต้นที่ถูกทำลายแห้งตาย เมื่อหักส่วนของพืชดังกล่าวดูจะพบมูลที่หนอนขับถ่ายออกมาซึ่งมีลักษณะเป็นจุดคล้ายขี้เลื่อยอยู่ภายใน
 
การควบคุมและป้องกัน
                         1. ตัดแต่งกิ่งที่ถูกหนอนเจาะทำลายแล้วนำไปเผาทิ้ง

                         2. กรณีที่กิ่งใหญ่หรือลำต้นถูกเจาะทำลาย ให้หารูเจาะของหนอนแล้วใช้    คลอร์ไพรีฟอส 40% อีซี อัตรา 1 - 2 มล.
ฉีดอัดเข้าไปในรูแล้วอุดด้วยดินเหนียว
 
หนอนปอก
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                        ตัวหนอนของผีเสื้อกลางคืนออกมาจากปลอก    จะแทะเล็มและกัดกินใบมะขามพร้อมกับทำรังหุ้มตัวและเกาะอยู่ใต้ใบ
หรือตามก้านใบ
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มไตรคลอร์ฟอน อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก

                        2. ใช้กับดักแสงไฟโดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดาวางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผงซักฟอก
ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5 - 10 ซม. วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 18.00 -19.00 น. สามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป

                        3. เก็บปลอกหนอนในช่วงกลางวันตามใต้ใบมะขามหรือเก็บตามก้านใบมาทำลายโดยการฝังหรือเผา
 
หนอนเจาะฝัก
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                          ตัวหนอนกัดกินบริเวณผิวเปลือกและเจาะเข้าไปภายในฝัก ถ้าเป็นฝักอ่อนจะทำให้ฝักลีบ ส่วนฝักมะขามแก่จะกัดกินเนื้ออ่อนภายในและถ่ายมูลออกมาเป็นขุยอยู่บนฝักมะขาม
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. หมั่นตรวจดูฝักที่ถูกหนอนทำลายที่ร่วงหล่นตามโคนต้น นำเก็บไปเผาทำลาย

                          2. ใช้สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก ฉีดพ่นป้องกันในระยะที่ฝักมะขามยังอ่อน
 
โรคราสีชมพู : เกิดจากเชื้อรา
 
 
 
 
ลักษณะการทำลาย
                         พบบริเวณกิ่งหรือลำต้น หากเข้าทำลายที่ใบจะมีสีเหลืองซีด ใบร่วงเหลือแต่กิ่ง มีคราบของเชื้อราสีขาวอมชมพูแผ่ขยายปกคลุม เมื่อผ่าตรวจดูเปลือกจะผุเนื้อไม้ยุ่ยและกิ่งแห้งตายในที่สุด
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. ตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้งแล้วเผาทำลาย  และทารอยตัดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารประกอบทองแดง  เช่น คอป
เปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เอดิเฟนฟอส 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

                          2. รักษากิ่งที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายใหม่ ๆ โดยการถากเปลือกที่เป็นโรคออก แล้วทาด้วยสารประกอบทองแดง

                          3. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคเช่น เบโนมิล คาร์เบนดาซิม โปรคลอราช แมนโคเซบและคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์เป็นต้น
อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก
 
โรคราแป้ง : เกิดจากเชื้อรา
 
 
 
 
ลักษณะการทำลาย
                          พบจุดด่างเหลืองบนใบด้านบน ลักษณะเป็นจุดเดี่ยวแล้วเริ่มเหลืองคลุมทั่วพื้นที่ใบ ทำลายทั้งใบอ่อนและใบแก่ อาการรุนแรงใบจะร่วง พบมากที่สุดในช่วงต่อระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. ตัดกิ่งและใบที่เป็นโรคทำลายโดยเผาหรือฝังดิน 

                          2. พ่นด้วยสารไดโนแคป 19.5% WP อัตรา 15 - 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไตรอะดิมิฟอน 25% WP อัตรา 15 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ กำมะถันผงละลายน้ำอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 

ข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. คู่มือพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ
                สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2552. 52 สัปดาห์รู้แล้วรวย. กรุงเทพฯ
                http://www.snatup.com/snat4b/Tanarinddiseases.html
                http://www.rakbankerd.com/view.php?id=2976&s=2

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514