โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... กุหลาบในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 4 เมษายน 2559
 
 
เพลี้ยไฟ 
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                      เพลี้ยไฟมีปากแบบดูด ซึ่งจะดูดน้ำเลี้ยงของพืช ทำให้ส่วนนั้นเป็นทางสีขาว ต่อมาก็เหี่ยวแห้งเป็นสีน้ำตาล หรือฝ่อไม่เจริญเติบโต เพลี้ยไฟทั้งตัวแก่และตัวอ่อน จะดูดน้ำเลี้ยงที่ตาดอก และยอดอ่อน ทำให้ใบและดอกหงิก และมีรอยสีน้ำตาล มักฝังตัวอยู่ในยอดอ่อน เห็นได้ยาก ยกเว้นเมื่อกลีบดอกเริ่มแย้ม ตามปกติทำให้เสียคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ ก่อนนำต้นไม้ต้นใหม่เข้ามาใหม่ต้องตรวจดูว่าไม่มีเพลี้ยไฟติดมาด้วย และควรกำจัดเพลี้ยไฟก่อนนำไปปลูกรวมกับต้นอื่น ๆ
                      
                       2. ถ้าเพลี้ยไฟทำลายไม่มากนัก ให้ตัดส่วนที่แมลงทำลายไปเผาทำลาย
                      
                       3. ใช้กับดักกาวเหนียว อัตรา 80 กับดักต่อไร่
                      
                       4. ใช้สารสกัดจากสะเดา อัตรา 100 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น
                     
                       5. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีติดต่อกัน 4 ครั้ง ช่วงห่างไม่เกิน 4 วัน สารเคมีกำจัดแมลง เช่น คาร์บาริล, เอ็นโดซัลแฟน
, มาลาไธออน, เมทธิโอคาร์บ, คาร์โบซัลแฟน, อะบาเมคทิน, เบนฟูราคาร์บ, ฟิโพรบิล ฯ
 
ไรแดง
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                      ไรแดงจะทำลายกุหลาบที่ใบแก่มากกว่าใบอ่อน โดยดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบเป็นกลุ่มๆ ทำให้เห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปและกลายเป็นสีน้ำตาลจนกระทั่งใบแห้งและร่วงหล่น บางครั้งจะพบการทำลายที่ดอก ทำให้ดอกบิดเบี้ยว เมื่อเห็นใยแสดงว่าการระบาดรุนแรงแล้ว
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. การกำจัดไรแดงโดยชีววิธี โดยใช้ไรตัวห้ำมากินไรแดง ปล่อยไรตัวห้ำในอัตรา 9-10 ตัวต่อต้น ทุก 2-3 สัปดาห์
                      
                       2. ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ชนิดเดียวกัน 3 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน และฉีดพ่นด้วยสารเคมีต่างกลุ่มจากครั้งแรกอีก 3 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน สารเคมีกำจัดไรแดงได้แก่ โอเม็ทโธเอท , อะบาเม็คติน , อะมิทราซ , เฮ็กซี่โธอะซ๊อก , แลมด้าไซฮาโลธริน และ เท็ทตระไดฟอน
 
 

ข้อมูลจาก : www.thaikasetsart.com
                www.ku.ac.th
                www.sotus.co.th
                www.dailynews.co.th / 5a24070.wordpress.com


 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514