โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... กล้วยไม้ในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 4 เมษายน 2559
 
 
เพลี้ยไฟ 
   
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายดอกกล้วยไม้ โดยใช้ปากเขี่ยเนื้อเยื่อให้ช้ำแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช บริเวณที่ถูกทำลายเกิดรอยด่าง ทำลายกล้วยไม้เกือบตลอดปี แต่พบน้อยในช่วงฤดูฝน
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. สุ่มสำรวจช่อดอกกล้วยไม้ ช่อที่มีดอกบานประมาณ 4 ดอก โดยสุ่ม 40 ช่อดอกต่อไร่ (หันหลังดอกไปทางทิศมีแสง) เมื่อพบเพลี้ยไฟ 3 - 4 ตัวต่อช่อดอก ให้ทำการป้องกันกำจัด หากอยู่ในช่วงดอกตูมให้สุ่มสำรวจที่ดอกตูมด้วย
                        
                         2. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ดังนี้
                             - อิมิดาโคลพริด (คอร์ฟิดอร์ 100 เอสแอล) อัตรา 10 - 20 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
                             - อะเซทามิพริด (โมแลน 20 % เอสพี) อัตรา 10 - 20 กรัมต่อน้ำ  20 ลิตร
                             - อะบาเม็กติก (แจคเก็ต , เวอร์ทิเม็ค 1-8 % อีซี)  อัตรา 10 - 20 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
                             - ฟิโปรนิล (แอสเซ้นด์ 5% เอสซี) อัตรา 20 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
                             - ไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน (พาร์ซอน 28.75% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
 
หมายเหตุ
                       เพื่อป้องกันการสร้างความต้านทานสารป้องกันกำจัดแมลงในเพลี้ยไฟ ควรพ่นสารสลับกัน แต่ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง โดยพ่น 5 - 7 วันต่อครั้ง ในฤดูร้อน และ 7 - 10 วันต่อครั้ง ในฤดูฝน และควรพ่นป้องกันกำจัดแมลงที่พื้นดินในโรงเรือนด้วย เนื่องจากตัวอ่อนเพลี้ยไฟมักฝังตัวและเข้าดักแด้ในดิน
 
ไรแดงหรือแมงมุมแดง
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                      ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและดอก ถ้าทำลายที่ใบจะทำให้เกิดจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนถึงน้ำตาล บางครั้งบริเวณที่ถูกทำลาย มีสีแดงเป็นปื้น หรือสีน้ำตาลไหม้เกรียม ถ้าทำลายที่ดอกจะทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินเป็นสีม่วงเข้ม เห็นได้ชัดในพวกกลีบดอกสีขาว
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. ไม่ควรปลูกกล้วยไม้ในลักษณะที่แออัดมากเกินไปดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มีการแตกหน่อและใบแน่นทึบเพราะทำให้
้ยากแก่การดูแลรักษา โดยเฉพาะการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
                       
                       2. ใบและช่อดอกที่ถูกไรแดงทำลาย ควรนำไปเผาทำลาย เพื่อลดปริมาณไรให้
                      
                       3. หากมีการระบาดของไร และจำเป็นต้องฉีดสารป้องกันกำจัดไรให้ฉีดพ่นทุก ๆ 3 - 4 วัน ในช่วงมีการระบาดควรฉีด
สารเคมีให้ถูกด้านใต้ใบและช่อดอกเพื่อให้น้ำยาสัมผัส กับไข่, ตัวอ่อน และตัวแก่ให้มากที่สุด   และควรสลับใช้กับสารป้องกันกำจัดไร
ชนิดอื่นๆ ตามสภาวะที่เหมาะสมสารที่ใช้ ป้องกันกำจัดไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ที่ได้ผลดี แนะนำให้ใช้สารต่อไปนี้
                             - อามีทราซ (ไมแทค 20% EC) อัตรา 20-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ ตัวอ่อนและตัวแก่
                             - ไดโคโฟล (เคลเทน 1.8% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่า ตัวอ่อน และตัวแก่
                             - เตทตระไดฟอน (เตทตระไดฟอน 7.5% EC) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อฆ่าไข่ และตัวอ่อน
 
หมายเหตุ
                        ห้ามฉีดพ่นขณะแดดจัดจะทำให้ดอกไหม้
 
 

ข้อมูลจาก : www.suanmeesuk.com
                www.bloggang .com
                www.orchidtropical.com
                www.rakbankerd.com


 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514