โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... มันสำปะหลังในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
 
ไรแดงมันสำปะหลัง
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       ไรแดงที่เข้าทําลายมันสําปะหลังมีอยู่ 2 ชนิด คือ ไรแดงหมอน และไรแดงมันสําปะหลัง  
                        -  ไรแดงหมอน ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่างและขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด
                        - ไรแดงมันสําปะหลัง ดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอดและขยายปริมาณลงสูใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีด
ม่วนงอ และร่วง มีผลกระทบต่อการการเจริญเติบโตของมันสําปะหลัง ถ้าการระบาด เกิดขึ้นในมันสําปะหลังที่ยังเล็ก อาจทําให้ต้นมันสําปะหลังตายหรือทําให้การสร้างหัวของมันสําปะหลังลดลง
 
การควบคุมและป้องกัน
                         1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า ด้วงปีกสั้น และไรตัวห้ำ
                         
                         2. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสําปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนหรือฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน
                         
                         3. หมั่นสํารวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบเก็บไปเผาทําลายนอกแปลงและถ้าเป็นไปได้ให้ปรับสภาพอากาศโดยการ
ให้น้ำแบบสปริงเกอร์เป็นระยะๆ ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงยาวนานและพบไรแดงเริ่มมีการระบาด

                         4. เฉพาะกรณีจําเป็นต้องใช้สารเคมีอามีทาซ 20% อีซี อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร  ให้พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทําลาย และไม่ควรพ่นสารเคมีซ้ำเกิน 2 ครั้ง

 
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                      - ดูดกินน้ำเลี้ยง ทั้งตัวอ่อน     และตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบ และลำต้นทำให้ต้น
มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติบโต
                      - ขับถ่ายน้ำหวานเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังจะขับถ่ายมูลเป็นน้ำหวานซึ่งทำให้เกิดเชื้อราดำขึ้นปกคลุมในภายหลังเป็นผลให้
มันสำปะหลังลดการสังเคราะห์แสง ทำให้ผลผลิตลดลง
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. หมั่นสำรวจติดตามสถานการณ์ และสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
                        
                        2. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝน

                        3. ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด และแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่ตามคำแนะนำ

                        4. ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมเพลี้ยแป้ง เช่น แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่า แตนเบียน ตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ

                        5. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็นทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไม่ให้ตัวห้ำตัวเบียนที่เป็นศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้ง
มันสำปะหลังถูกทำลาย

                        6. ใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน
 
 
 

ข้อมูลจาก :

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514