แมลงดำหนามมะพร้าว (Two - Coloured Coconut leaf Beelte)
 
เผยแพร่ : วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brontispa longissima , Plesispa reicheri
   
วงศ์   : Chrysomelidae
อันดับ Coleoptera
 
รูปร่างลักษณะ
                ระยะตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็กมากลำตัวอ่อนข้างแบนยาวประมาณ 5 มม. กว้างประมาณ 2 มม. ส่วนหัวและท้อง
มีสีน้ำตาล อกสีเหลืองส้ม ปีกคู่หนาเป็นแบบ elytra สีดำ มีลักษณะเป็นร่องเล็ก ๆ ไปตามความยาวของปีก   ในร่องดังกล่าวจะมีรอยบุ๋ม
เป็นจุด ๆ อยู่ทั่วไป ปีกคู่หลังเป็นแบบ  membranous ด้วงตัวเต็มวัยมักซ่อน อยู่ตามยอดอ่อนขอบใบที่ยังไม่คลี่ตัวผู้มีอายุเฉลี่ย 68 วัน
ตัวเมียอายุเฉลี่ย 102 วัน

                 ระยะไข่   ตัวเมียวางไข่เดี่ยว ๆ    หรือวางไข่เป็นแถว    ใต้ใบที่ยังไม่คลี่ ไข่มีลักษณะยาว ค่อนข้างแบนมีสีน้ำตาล   ยาว
ประมาณ 2 มม. กว้างประมาณ 0.8 มม. บางส่วนของไข่จะปกคลุมด้วยวัสดุเป็นขุย สีน้ำตาลอ่อนตัวเมียสามารถวางไข่ได้ 33 - 96ฟอง ระยะไข่ 6 - 8 วัน

                 ระยะหนอน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ หนอนมีสีครีม ยาวประมาณ 2.2 มม. หนอนมีการเคลื่อนไหวช้า  ลำตัวค่อนข้างแบน
และมีส่วนคล้ายหนามยื่นออกมาจากด้านข้างของลำตัวทุกปล้อง   ปลายสุดของส่วนท้อง มีอวัยวะคล้าย calypter 1 คู่    หนอนมี 3 วัย เมื่อใกล้จะลอกคราบ แต่ละครั้ง หนอนจะมีลำตัวสีเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาล  หนอนวัยที่ 3 มีขนาดยาว ประมาณ 7 มม. กว้างประมาณ 2 มม.
ระยะหนอน 14 - 33 วัน

                 ระยะดักแด้ มีลักษณะแบน สีเหลือง มีขนาดยาว ประมาณ 10 มม.   กว้างประมาณ 2.5 มม. ดักแด้จะอยู่อย่างอิสระ ไม่มี
ไม่มีการสร้างรัง ส่วนปลายของดักแด้จะมีส่วนของอวัยวะที่คล้าย calypter สีน้ำตาลเข้มติดอยู่ ระยะดักแด้ 5 - 8 วัน

 
 
ไข่แมลงดำหนาม ที่มา : กรมวิชาการเกษตร หนอนแมลงดำหนาม ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
ดักแด้่แมลงดำหนามที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร ตัวเต็มวัยแมลงดำหนาม ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
 
ลักษณะการเข้าทำลาย

                  ทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามมะพร้าวซ่อนตัวในใบอ่อนและกัดกินยอดอ่อนโดยเฉพาะยอดที่ยังไม่คลีทำ
ให้ยอดอ่อนมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต หากต้นมะพร้าวถูกทำลายรุนแรงติดต่อกันทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาลมองเห็นเป็นสีขาวโพลน
ชัดเจน ชาวสวนมะพร้าวเรียกว่า “มะพร้าวหัวหงอก”

 
อาการมะพร้าวหัวหงอกเกิดจากการทำลายของแมงดำหนาม   ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
   
ยอดอ่อนมะพร้าวที่ถูกแมลงดำหนามทำลาย
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ตัวเต็มวัยแมลงดำหนามทำลายยอดอ่อนมะพร้าว
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
 
พืชอาศัย

                  ต้นจากปาล์มขวด

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                  1. ใช้วิธีกล ในมะพร้าวต้นเตี้ย ตัดยอดมะพร้าวที่ถูกหนอนและตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามกัดกิน ไปเผาทำลาย

                  2. ใช้ชีววิธ โดยใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่
                         2.1 ปล่อยแตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว  Asecodes hipinarum อัตรา 5 - 10 มัมมี่/ไร่ปล่อย 3 - 5 ครั้ง แต่ละ
ครั้งห่างกัน 7 - 10 วัน
                         2.2 ในมะพร้าวต้นเตี้ย ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม Metarhizium anisopliae  อัตรา 1 กก./น้ำ 20 ลิตร (นำเชื้อรา
ที่เจริญบนเมล็ดธัญพืชมาขยำเพื่อแยกกากออกและเอาเฉพาะสปอร์ที่อยู่ในของเหลว)      ผสมสารจับใบ  พ่นบนยอดมมะพร้าว กำจัด
ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามมะพร้าว
                         2.3 อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงหางหนีบ

                   3. ใช้สารเคม มีที่มีอันตรายน้อยและสลายตัวเร็ว เช่น คาร์บาริล   (เซฟวิน 85% WP)อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นใน
แปลงเพาะกล้ามะพร้าว ก่อนการเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่มีการระบาดทุกครั้ง

 
 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514