ด้วงแรดมะพร้าว (Coconut Rhinoceros Beetle)
 
เผยแพร่ : วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ด้วงแรดชนิดเล็ก    Oryctes rhinoceros
  : ด้วงแรดชนิดใหญ่   Oryctes gnu
   
วงศ์   : Scarabaeodae
อันดับ Coleoptera
 
รูปร่างลักษณะ
                ด้วงแรดมะพร้าว มี  2 ชนิดได้แก่ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดทั้ง 2 ชนิด  มีรูปร่างลักษณะและวงจร
ชีวิตคล้ายคลึงกัน

                 ระยะไข่ ไข่มีลักษณะกลมรี สีขาวนวลมองเห็นได้ชัดขนาดกว้าง 2 - 3 มม. ยาวประมาณ 3 - 4 มม. เมื่อใกล้ฟักไข่จะมี
สีน้ำตาลอ่อน ไข่ถูกวางลึกลงไปประมาณ 5 - 15 ซม. ในแหล่งขยายพันธุ์ที่ผุพัง

                 ระยะหนอน หนอนเมื่อเริ่มฟักออกจากไข่ มีลำตัวสีขาว ความกว้างของลำตัว 2 มม.ความยาวลำตัว 7.5 มม.หัวกะโหลก
สีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 2 - 2.5 มม. มีขาจริง 3 คู่ ด้านข้างลำตัวมีรูหายใจ  จำนวน 9 คู่   เมื่อหนอนกินอาหารแล้วผนังลำตัวจะมี
ีลักษณะโปร่งใส มองเห็นภายในสีดำ หนอนเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 60 - 90 มม.

                 ระยะดักแด้ เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรงโดยจะหดตัวอยู่ภายในเป็นเวลา 5- 8วัน
จึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นสีน้ำตาลแดง กว้าง 22 มม. ยาว 50 มม.   ซึ่งสามารถแยกเพศได้ โดยดักแด้ของเพศผู้สามารถมองเห็นส่วนที่เป็น
ระยางค์คล้าวเขายื่นยาวชัดเจนกว่าของเพศเมีย

                 ระยะตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งสีดำเป็นมันวาว  ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง ความกว้างของลำตัว 20 - 23 มม. ความยาวลำตัว
30 - 52 มม. สามารถแยกเพศได้ โดยตัวเต็มวัยเพศผู้   ส่วนหัวมีเขาลักษณะคล้ายเขาแรดโค้งยาวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย  เพศเมีย
มีเขาสั้นกว่า และบริเวณปล้องสุดท้ายของเพศเมีย มีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนากว่าเพศผู้

 
 
ไข่ด้วงแรดมะพร้าว ที่มา : กรมวิชาการเกษตร หนอนด้วงแรดมะพร้าว ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
ดักแด้่ด้วงแรดมะพร้าว ที่มา : กรมวิชาการเกษตร ตัวเต็มวัยด้วงแรดมะพร้าว ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
 
ลักษณะการเข้าทำลาย

                  ตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้น ที่เข้าทำลายต้นมะพร้าว โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมันทำให้
ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อนทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยมถ้าโดน
ทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน  รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่หรือทำให้
ทางใบมะพร้าวเกิดโรคยอดเน่า จนทำให้ต้นมะพร้าวตายได้

 
รอยเจาะของด้วงแรดมะพร้าว
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
ใบมะพร้าวที่ถูกด้วงแรดทำลาย
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
 
พืชอาศัย

                  พืชตระกูลปาล์มทุกชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และปาล์มประดับ

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                  1. ควบคุมโดยวิธีเขตกรรม ได้แก่ การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อยและสะดวกเพราะอยู่บนพื้น
ดิน สามารถกำจัดไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ ได้แก่
                      1.1 เผาหรือฝังซากลำต้น และตอของมะพร้าว
                      1.2 เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.
                      1.3 ถ้าจำเป็นต้องทำกองมูลสัตว์นานกว่า  2 - 3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับบกองปุ๋ยหมัก หรือนำใส่ถุงปุ๋ยมัดปากให้
แน่นนำไปเรียงซ้อนกัน

                   2. ควบคุมโดยกลวิธหมั่นทำความสะอาดบริเวณคอต้นมะพร้าวหรือปาล์ม   ตามโคนทางใบมะพร้าว หากพบรอยแผล
เป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพี่อกำจัดทิ้ง

                   3. ควบคุมโดยใช้กับดักล่อฟีโรโมน เพื่อล่อจับตัวเต็มวัย และนำมาทำลาย

                   4. ควบคุมโดยชีววิธ ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม Metarhizium anisopliae คลุกในกองปุ๋ยคอกขนาดกองปุ๋ยคอก 4
ตร.ม ลึกประมาณ 0.5 เมตร คลุกเชื้อราในกองปุ๋ยคอก อัตรา 0.5 - 1 กก./กองปุ๋ย 1 กอง ครอบคลุมพื้นที่ 5 ไร่

 
ลักษณะกองปุ๋ยคอกล่อด้วงแรดมะพร้าว
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

การใช้เชื้อราเมตาไรเซียมในกองปุ๋ยคอก
ล่อด้วงแรดมะพร้าว 
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
หนอนด้วงแรดมะพร้าวถูกเชื้อราเมตาไรเซียมเข้าทำลาย 
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร   
 
 
 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514