หนอนหัวดำมะพร้าว (Coconut Black - headed Caterpillar)
 
เผยแพร่ : วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Opisina arenosella Walker
   
วงศ์   : Oecophoridae
อันดับ : Lepidoptera  
 
รูปร่างลักษณะ
                ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาวประมาณ 1 - 1.2 ซม. ลำตัวแบน   ชอบเกาะนิ่งแนบตัว
ติดผิวพื้นที่เกาะ เวลากลางวัน จะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าว หรือในที่ร่มเริ่มวางไข่ 3 วัน หลังออกจากดักแด้ และวางไข่ทุกวันติดต่อ
กันไป 4 - 6 วัน จะวางไข่ตัวละ 157 - 490 ฟอง   ระยะไข่ 5 - 6 วัน ระยะหนอน 32 - 48 วัน มีการลอกคราบ 6 - 10 ครั้ง ระยะดักแด้
9 - 11 วัน ตัวเต็มวัยผีเสื้อมีอายุ 5 - 14 วัน   ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1 - 2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบ
ไปกัดกินใบมะพร้าว มักจะพบหนอนหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบมะพร้าวใบเดียวกัน
 
 
ไข่หนอนหัวดำมะพร้าว ที่มา : กรมวิชาการเกษตร หนอนหัวดำมะพร้าว ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
ดักแด้่หนอนหัวดำมะพร้าว
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ตัวเต็มวัยหนอนหัวดำมะพร้าว
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
   
 
ลักษณะการเข้าทำลาย

                  ตัวหนอนจะสร้างใยผสมกับมูลทำเป็นอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวกคลุมเส้นทางที่หนอนแทะกินผิวใบ   ยาวตามใบ
มะพร้าวและอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นการทำลายส่วนใหญ่พบบนใบแก่ ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล  ตัวหนอน
จะสร้างใยดึงใบย่อยให้ติดกันเป็นแพ

 
ทางใบมะพร้าวที่ถูกหนอนหัวดำเข้าทำลาย   ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
   
 
พืชอาศัย

                  ตาลโตนด   อินทผลัม  หมาก ปาล์มน้ำมัน  ปาล์มประดับต่างๆ เช่น ตาลฟ้า ปาล์มหางกระรอก หมากเขียว หมากแดง จั๋ง
และยังพบลงทำลายต้นกล้วยที่ปลูกในสวนมะพร้าวด้วย

กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                  1. ตัดทางใบมะพร้าวที่ถูกหนอนทำลายนำไปเผา  เพื่อกำจัดหนอนและดักแด้ 

                  2. ใช้เชื้อแบคทีเรีย (Bt)  พ่นใบมะพร้าวที่ยังไม่ถูกทำลาย    เพื่อควบคุมหนอนที่เพิ่งฟักออกจากไข่ พ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง
แต่ละคร้้งห่างกัน  7 - 10 วัน 

                  3. ปล่อยแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่า     ทำลายไข่หนอนหัวดำ อัตรา  10  แผ่นต่อไร่   อย่างต่อเนื่อง ห่างกัน 2 สัปดาห์
จนสำรวจไม่พบตัวหนอน

                  4. ปล่อยแตนเบียนหนอนบราคอน  ทำลายหนอนหัวดำ อัตรา 200 ตัวต่อไร่  อย่างต่อเนื่อง ห่างกัน 2 สัปดาห์ จนสำรวจ
ไม่พบตัวหนอน

                  5. ฉีดสารเคมีอีมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92% อีซี  อัตรา 30 มล.ต่อต้น    เจาะลำต้นมะพร้าวสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1 ม.
จำนวน 2 รู ให้รูอยู่ตรงกันข้ามกัน  ใส่สารเคมีรูละ 15 มิลลิลิตร แล้วใช้ดินน้ำมันอุดรูทันที โดยแนะนำให้ฉีดเข้าลำต้น เฉพาะมะพร้าวที่
มีความสูงมากกว่า 12 ม. ขึ้นไป ห้ามใช้กับมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวกะทิ

                  6. กรณีมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า  12 ม. วัดจากปลายใบบนสุด  มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวทำน้ำตาล
ให้ใช้วิธีพ่นสารเคมีทางใบ  โดยเลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้

                          6.1 ฟลูเบนไดเอไมด์ 20% WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
                          6.2 คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
                          6.3 สปินโนแสด 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
                          6.4 ลูเฟนยูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

 
 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514