การจัดการด้วงแรดในพืชตระกูลปาล์ม
 
เผยแพร่ : วันที่ 14 กรกฎาคม 2559
 
 

                    พืชตระกูลปาล์มประกอบด้วย มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน รวมไปถึงตาล อินทผลัม และปาล์มประดับต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใดในตระกูลนี้ จะมีด้วงแรดมะพร้าวเป็นศัตรูพืชสำคัญคอยทำลายให้เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบถึงปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

                     ด้วงแรดมะพร้าวเป็นชนิดที่ทำความเสียหายให้กับพืชตระกูลปาล์มในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
                     1. ด้วงแรดชนิดเล็ก (Oryctes rhinoceros) พบทั่วทุกภาคของประเทศ
                    2. ด้วงแรดชนิดใหญ่ (Oryctes gnu) พบไม่บ่อยนักส่วนใหญ่พบทางใต้ของประเทศตั้งแต่ จ.ชุมพร แต่ปึจจุบัจพบ่วามีด้วงใหญ่เข้าทำลายแและจ.ชุมพร แต่ปัจจุบันพบว่ามีด้วงแรดใหญ่เข้าทำลายมะพร้าวและปาล์มน้ามันในเขตภาคใต้

 
 
 
ซ้ายด้วงแรดตัวผู้ และขวาด้วงแรดตัวผู้
   
 
รูปร่างลักษณะและวงจรชีวิตของด้วงแรดมะพร้าว
 
                     ทั้งด้วงแรดเล็กและด้วงแรดใหญ่มีวงจรชีวิต 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยที่มีรูปร่างลักษณะและวงจรชีวิตที่คล้ายคลึงกันมาก ต่างกันที่ขนาดของตัวและขอบของแผ่นปกคลุมด้านหลังของส่วนอก ซึ่งแต่ละระยะมีรายละเอียดดังนี้
                        
                     ไข่มีลักษณะกลมรี สีขาวนวลมองเห็นได้ชัด กว้างประมาณ 2 - 3 มม. และยาว 3 - 4 มม. เมื่อใกล้แก่จะเป็นสีน้าตาล
บลึกลงไปในดิน 5 - 15 ซม. แหล่งที่พบจะเป็นบริเวณที่มีการย่อยสลายผุพังของเศษซากพืชในแปลงปลูก  หรือบริเวณกองปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ ระยะเป็นไข่ ประมาณ 10 - 12 วันจึงฟักออกมาเป็นหนอน
                        
                     ตัวหนอนออกจากไข่ใหม่ๆ ขนาด 2 x 7.5 มม. หัวกระโหลกสีน้ำตาลอ่อน มีขาจริง 3 คู่ สังเกตว่าตัวจะงอเป็นรูปตัว ซี (C ) ที่จริงหนอนจะมีผิวหนังใสแต่ที่พบว่าตัวดำ เนื่องมาจากหนอนกินอาหารเข้าไประยะเป็นหนอน 80 - 150 วัน

                      ดักแด้เมื่อหนอนมีอายุประมาณ  80 - 150   วันจะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรงหนอนจะ หดตัวอยู่ภายในโพรงเป็นเวลา 5 - 8 วันแล้วเข้าดักแด้ในนั้น 23 - 28 วัน
                        
                     ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งสีดำเป็นมันวาว ใต้ท้อง สีน้ำตาลแดง ตัวขนาด 20 - 23 มล. แยกเพศจากเขาคล้ายเขาแรดที่บริวณส่วนหัวยาวโค้ง ตัวเมียเขาสั้นกว่าและบริเวณ ปลายท้องจะมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่นกว่าเพศผู้  ด้วงแรดมีอายุยาว หลายเดือนและผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง  ตัวเมียที่รับการผสมพันธุ์ครั้งเดียว สามารถวางไข่ได้นาน 130 วัน ปกติวางไข่ครั้งละ 1 - 30 ฟอง สูงสุด 152 ฟอง

วงจรชีวติของด้วงแรด
     
   
 
 
พฤติกรรมด้วงแรดมะพร้าว
                      ด้วงแรดเป็นแมลงที่ชอบซ่อนตัวจึงพบในที่มืด ระยะที่ทำความเสียหายให้กับต้นพืชตระกูลปาล์มคือตัวเต็มวัยซึ่งเราจะ
พบได้ในแหล่งอาหาร เช่น ภายในรูเจาะที่ต้นมะพร้าว หรือต้นปาล์มน้ำมัน
                      ตัวเต็มวัยด้วงแรด ออกหากินในเวลาพลบค่ำและเวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยแรดชอบเล่นไฟหลังฝนตกและในเวลากลางคืน ระยะทางที่ด้วงแรดบินไปได้ไกล 2 - 4 กม. บินได้นาน 2 - 3 ชั่วโมง
 
ลักษณะการทำลาย
                   ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่ทำความเสียหายให้กับต้นพืชตระกูลปาล์ม โดยจะบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมัน ทำให้เห็นเป็นร่องรอยที่ทางใบ ใบหักง่าย และกัดทำลายยอดอ่อน ใบใหม่ที่ขึ้นมามีรอยแหว่งเป็นริ้ว คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าเข้าทำลายมากๆ จะทำให้ใบใหม่ แคระแกร็น 
 
 
 
 
                          ปัจจุบันพบว่าการล้มแปลงปลูกมะพร้าวหรือล้มต้นปาล์มน้ำมันเพื่อปลูกใหม่ทดแทนสวนเดิม  โดยทิ้งต้นไว้ในแปลง
เมื่อเน่าเปื่อยผุพังจะเป็นแหล่งแพร่ขยายของด้วยแรด และส่งผลให้มีพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ ยังพบว่าเกษตรกรใช้กากทะลายปาล์มที่ย่อยสลายแล้วจากโรงงานน้ำมันปาล์มมาคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นในดินในช่วงแล้ง ซึ่งก็เป็นแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของด้วงแรดได้ดีเช่นเดียวกัน
 
 
 
 
 
วิธีป้องกันและกำจัดด้วงแรดมะพร้าว

                     การป้องกันและกำจัดด้วงแรดมะพร้าวต้องทำได้หลายวิธีร่วมกันเพื่อให้การควบคุมปริมาณหรือกำจัดให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการต่างๆ ได้แก่

                          1. การควบคุมด้วยวิธีเขตกรรม คือ การจัดการกับต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์มน้ำมัน ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารหรือแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด โดยสามารถทำด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่

                              1.1 กำจัดซากต้นปาล์มน้ำมันหรือต้นมะพร้าวที่แก่และเกษตรกรตั้งใจจะตัดทิ้งเพื่อปลูกพืชใหม่หรือปลูกพืชเดิม
ทดแทนแปลงเก่า และนำซากต้นปาล์มน้ำมันหรืต้นมะพร้าวออกจากแปลหากเป็นไปได้ให้เผาหรือฝังซากลำต้นแต่ต้องฝังลึกมากกว่า 15 ซม. เพื่อป้องกันการวางไข่ของด้วงแรด

                              1.2 ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถเผาหรือฝังได้  หากเกษตรกรตีต้นปาล์มน้ำมันเพื่อย่อยสลายในแปลงเป็นปุ๋ย
บำรุงต้นต่อไปนั้น ต้องเกลี่ยกองซากลำต้นให้สูงไม่เกิน 15 ซม.
                               
                              1.3 กรณีที่เกษตรกรไม่ได้ตัดต้นปาล์มน้ำมันทิ้งยังคงให้ต้นปาล์มยืนต้น  และใช้สารเคมีหรือน้ำมันเครื่องฉีดเข้า
ลำต้นให้ยืนต้นตายนั้น พบว่าเกิดการย่อยสลายของต้นจากบนลงล่าง และเป็นแหล่งวางไข่ของด้วงแรด ดังนั้น เมื่อเห็นว่าต้นตายแล้วควรล้มต้นและเอาออกนอกพื้นที่ หรือเผา หรือฝัง หรือย่อยและเกลี่ยกองให้สูงไม่เกิน 15 ซม.

                              1.4 กรณีที่มีกองมูลสัตว์หรือกองปุ๋ยหมักในสวนควรกลับกอง   และสำรวจดูไข่และหนอนของด้วงแรดมะพร้าว
เพื่อทำการควบคุมได้ทันท่วงที และเมื่อมูลสัตว์หรือปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์แล้วควรเก็บใส่ถุง ปิดปากถุงให้เรียบร้อย

                           2. การควบคุมด้วยวิธีกล ได้แก่

                             2.1 การทำกับดักเพื่อจับทำลาย เช่น การใช้แห อวน หรือตาข่ายขึงรอบแปลงปลูก โดยให้ตาข่ายมีความสูงจาก
พื้นดินประมาณ 1 เมตร และความสูงของตัวตาข่ายเท่ากับตาข่ายที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

 
 

                            2.2 ทำความสะอาดาบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์มน้ำมัน โคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูให้ใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงเรดมะพร้าวเพื่อกำจัดเสีย

 
 
                           3. การควบคุมโดยใช้กับดักสารฟีโรโมนหรือฮอร์โมนเพศ มีกลิ่นเฉพาะสามารถดึงดูดด้วงแรดมะพร้าวที่เป็นตัวเต็ม
วัยทั้งตัวผู้และตัวเมียมาเพื่อผสมพันธุ์กัน และเมื่อด้วงแรดมะพร้าวบินมาที่กับดักจะชนแผ่นเรียบเหนือถังกับดักและตกลงในถัง ด้วงแรดมะพร้าวจะไม่สามารถบินออกไปได้เนื่องจากไม่มีพื้นที่มากพอที่จะดีดตัวบินขึ้นได้ และในเวลาเช้าสามารถเก็บตัวเต็มวัยมาทำลายได้ซึ่งกับดักสารฟีโรโมนมีอายุการใช้งาน 2 - 3 เดือนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงฟีโรโมนจะระเหยเร็วขึ้นอายุการใช้งานกับดักจะลดลง ความสามารถของกับดักนี้ 1 กับดักจะครอบคลุมพื้นที่ 10 - 12 ไร่
 
                           4. การทำกองล่อร่วมกับการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม มีวิธีการดังนี้

                               4.1 ทำกองล่อด้วยเศษซากวัสดุในแปลงที่เรานำมาทำปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์ ขนาดกองล่อ 2 x 2 ม. ขุดลึกลงไปในในดินประมาณ  50 ซม. (หรือสูงจากพื้น 50 ซม. โดยมีวัสดุเช่นต้นมะพร้าวกันให้กองคงรูปไม่แตก) เพราะด้วงแรดจะไข่ลึกลงไปในกองล่อ อาจจะเติมมูลวัวและให้ความชื้นกับกองล่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น
                         
                                4.2 เมื่อกองล่อย่อยสลายและความร้อนในกองลดลงแล้ว (ประมาณ 2 - 3 เดือน) นำเชื้อราเมตาไรเชียมหรือ
เชื้อราเขียวประมาณ 400 กรัมโรยไปบนกองล่อหรือผสมน้ำรดลงใฟบนกองล่อ ในกองล่อควรมีความชื้น ถ้าแห้งแล้งเชื้อราที่ใส่ลงไปอาจตายได้

                                4.3 ในระหว่างรอกองล่อย่อยสลาย เกษตรกรควรคุ้ยสำรวจใต้กองว่ามีไข่หรือหนอนของด้วงแรดมะพร้าวใน
กองล่อแล้ว จึงเริ่มคลุกเชื้อราเมตาไรเซีนม ซึ่งจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ถูกจุดมากยิ่งขึ้น

                                4.4 เมื่อเชื้อราเมตาไรเซียมได้รับความชื้น  และอุณหภูมิที่เหมาะสมส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเมตาไรเซียมจะ
งอกและแทงเส้นใยทะลุุผ่านลำตัวของหนอนด้วงแรดมะพร้าว      เชื้อราเมตาไรเซียมที่แทงเข้าไปในตัวหนอนจะใช้ตัวหนอนเป็นแหล่งอาหารและเจริญเติบโตภายในตัวหนอนเมื่อโตเต็มที่เชื้อราเมตาไรเซียมจะแทงเส้นใยออกมาเจริญนอกลำตัวหนอนสร้างสปอร์สีเขียวที่
ผิวหน้งตัวหนอน ในระยะนี้หนอนจะตายลำตัวแห้งและแข็งมีเส้นใยเชื้อราเต็มตัว     และสปอร์ของเชื้อราอาจจะปลิวไปตกที่กองปุ๋ยอื่น
เข้าทำลายด้วงแรดได้

                                ข้อดีของการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม คือ
                                1. ได้ผลในระยะยาว คงทนในด้นได้นานข้ามปี
                                2. ไม่มีพิษตกค้าง
                                3. มีความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
                                4. มีความเฉพาะเจาะจงกับด้วงแรด

                                ข้อจำกัดในการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม
                                1. ต้องการความชื้นสูงในการงอก จึงควรเลือกเวลาให้เหมาะสม 
                                2. ควรเลี่ยงการใช้ในช่วงแดดจัดเพราะจะทำให้เชื้อราเมตาไรเซียมตายได้

 
บทสรุป

                           ด้วงแรดมะพร้าวสามารถควบคุมได้โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจและใช้วิธีการควบคุมหลายๆ วิธีร่วมกัน ก็จะสามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชได้ และหากเกษตรกรมีปัญหาเรื่องการควบคุมด้วงแรดมะพร้าวในพืชตระกูลปาล์ม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช ซึ่งมี 9 แห่งทั่วประเทศ คือ จังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี ชลบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ และจังหวัดพิษณุโลก หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน

 
 
ข้อมูล : กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช
 

เอกสารประกอบการเรียบเรียง : กรมวิชาการเกษตร. http://at.doa.go.th/coconut/beetle.html

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514