หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer)
 
เผยแพร่ : วันที่ 7 มีนาคม 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : หนอนกอลายจุดเล็ก Chilo  infuscatellus
    หนอนกอสีขาว Scripophaga  excerptalis
    หนอนกอสีชมพู Sesamia  inferens
    หนอนกอทั้ง 3 ชนิดนี้ สร้างปัญหาให้กับอ้อยในระยะแตกกอมากกว่าในระยะอ้อยเป็นลำ
   
    หนอนกอลายใหญ่ Chilo  sacchariphagus
    หนอนกอลายจุดใหญ่ Chilo  tumidicostalis
    หนอนกอทั้ง 2 ชนิดนี้ สร้างปัญหาในระยะอ้อยเป็นลำได้มากกว่าในระยะอ้อยแตกกอ
   
วงศ์ : Crambidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :
   
รูปร่างลักษณะ
                        หนอนกอลายจุดเล็ก Chilo  infuscatellus ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีฟางข้าง อายุ 7 - 12 วัน วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวครีมวางซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลาอยู่ใต้ใบและบนใบอ้อย ระยะไข ่3 - 6 วัน หนอนมีจุดขนาดเล็กๆ (ขนาดจุดดินสอดำปลายแหลม) สีน้ำตาลไหม้อยู่บนหลังปล้องละ 1 คู่ ระยะหนอน 30 - 35 วัน หนอนลอกคราบ 5 ครั้งจึงเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 5 - 8 วัน
                         หนอนกอสีขาวScripophaga  excerptalis ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีขาว อายุ 6 - 10 วัน ไข่แต่ละฟองเป็นเม็ด
กลมสีขาวเป็นกลุ่มอยู่ใต้ใบอ้อยและมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่  ระยะไข่ 4 - 6 วัน ลำตัวของหนอนสีขาวซีด      มีขนาดใหญ่และยาวกว่าหนอนกอลาย ระยะหนอน 35 - 40 วัน ดักแด้สีขาวปนน้ำตาล ระยะดักแด้ 8 - 10 วัน
                         หนอนกอสีชมพู  Sesamia  inferens  ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาล อายุ 7 - 11 วัน ไข่เป็นเม็ดกลมสีชมพู่
เป็นกลุ่มเรียงกันอยู่ในกาบใบที่แนบอยู่กับยอดหรือใกล้ยอดใบ ระยะไข่ 6 - 7 วัน หนอนลำตัวสีชมพูมีขนาดใหญ่กว่าหนอนกอลายจุด
เล็ก ระยะหนอน 30 - 50 วัน และลอกคราบ 8 - 9 ครั้งระยะดักแด้  10 - 12 วัน
                         หนอนกอลายใหญ่ Chilo  sacchariphagus ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้มกว่าหนอนกอลายจุดเล็กมีแถบสีน้ำตาลไหม้เล็ก ๆเป็นแนวนอนบนปีกคู่หน้าเห็นได้ชัด ตัวเต็มวัย 9 - 15 วัน ลักษณะไข่และระยะไข่เหมือนหนอนกอลายจุดเล็ก แต่ไข่สีขาวใสกว่า ระยะหนอนยาวกว่าคือ 30 - 40 วัน และลักษณะหนอนมีแถบสีน้ำตาลอมม่วงเป็นแถบใหญ่พาดตามยาวของลำตัวเห็นชัดเจน ระยะดักแด้ 9 - 15 วัน
                         หนอนกอลายจุดใหญ่ Chilo  tumidicostalis ตัวเต็มวัยสีเข้มที่สุดในบรรดาตัวเต็มวัยของหนอนกอทั้งหมด กลางปีกคู่หน้าจะมีขีดสีน้ำตาลหนึ่งเส้นพาดไปตามแนวนอนของปีกเห็นได้ชัดตัวเต็มวัย 5 - 10 วัน ไข่เป็นกลุ่มสีขาวครีมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลาอยู่ใต้และบนใบอ้อย ระยะไข่ 3 - 6 วัน ระยะหนอน 30 - 35 วัน ลักษณะหนอนคล้ายหนอนกอลายจุดเล็กมากเว้นแต่มีจุดด้านหลังของลำตัวกลมใหญ่กว่า (ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด) และมีสีน้ำตาลเข้มเห็นเด่นชัดกว่า ระยะดักแด้ 7 - 12 วัน
 
หนอนกอลายจุดเล็ด
ที่มา : ปราการ ทองรักษ์, 2549
         นายช่างเทคนิด(สอน.)
หนอนกอสีขาว
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

ลักษณะการทำลายหนอกกอสีมชมพู่
ที่มา : www.agricomseeds.net/ plagas.php
 
ผีเสื้อหนอนกอลายจุดใหญ่
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
หนอนกอลายจุดใหญ่
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
 
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                          1. ปลูกอ้อยพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อหนอนกอ เช่น เอฟ156, อู่ทอง1 และ เค84 - 200
                          
                          2. ถ้าต้องไถตออ้อยทิ้งให้ทำลายตออ้อยให้หมด เพื่อกำจัดหนอนหรือดักแด้ที่อยู่ในตออ้อย
                          
                          3. ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในระยะเริ่มปลูก เพราะหนอนจะชอบหน่ออ้อยที่มีความอวบอ้วน
                          
                          4. การใช้ศัตรูธรรมชาติ เช่น
                              - ปล่อยแตนเบียนหนอนโคทีเซีย อัตรา 100 - 500 ตัวต่อไร่ เมื่อพบหนอน ปล่อยทุก 7 วัน 4 ครั้ง
                              - ปล่อยแตนเบียนไข่ตริโคแกรมม่า อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ เมื่ออ้อยอายุ 2 เดือน ปล่อยทุก 15 วัน 2 ครั้ง
                              - ปล่อยแมลงหางหนีบ อัตรา 500 ตัวต่อไร่
                          
                          5. การใช้สารเคมี
                              - เดลต้ามีทรีน (ชื่อการค้าคือ เดซีส 3%อีซี, ดัสโต้ 3%อีซี หรือซิสรีน 2.5%อีซี เป็นต้น) อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกันครั้งละ 15 วัน
                               - ไซเปอร์เมทริน (ชื่อการค้า เช่น ซิมบุช 25%อีซี,  นอคทริน 25% อีซี,  มาแตง 25%อีซี, แชมป์ 25% อีซี
นูเรล 25%อีซี, มิกซ์ 25%อีซี และริคาด 15%อีซี) อัตรา 15 - 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร
                          
                          6. พ่นด้วยปิโตเลียมออยส์    (83.9 % อีซี) 100 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นก่อนการปล่อยแตนเบียนหนอน  หรือ
แตนไข่ประมาณ 10 - 15 วัน

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514