หนอนเจาะผลทุเรียน (Durian fruit borer)
 
เผยแพร่ : วันที่ 18 เมษายน 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dichocrosis punctiferalis Guen
วงศ์ : Pyralidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :
   
รูปร่างลักษณะ
                        หนอนเจาะผลมีลำตัวสีขาว หัวสีน้ำตาล หนอนที่โตเต็มที่มีตัวสีน้ำตาล และมีจุดสีดำทั่วลำตัว ปีกของผีเสื้อตัวเต็มวัยทั้ง 2 คู่ มีสีเหลืองและมีจุดสีดำกระจายทั่วปีก หนอนที่นำมาเลี้ยงด้วยผลละหุ่ง มีอายุตามระยะการเจริญเติบโต คือ ระยะไข่ 4 วัน หนอน 13 - 13 วัน ดักแด้ 7 - 9 วัน ผีเสื้อเพศผู้ 10 - 18 วัน ผีเสื้อเพศเมีย 14 - 18วัน
 
ลักษณะการทำลาย
                       ผีเสื้อตัวเมียจะวางไข่ไว้ที่ผิวผลทุเรียน ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ จะแทะกินผิวเปลือกผลทุเรียน ตั้งแต่ผลขนาดเล็กที่อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ จนกระทั่งตัวโตขึ้นจึงเจาะเข้าไปกินอยู่ภายในผล แล้วจะออกมาเข้าดักแด้อยู่ระหว่างหนามของผล โดยมีใยและมูลของหนอนหุ้มตัว แล้วจึงฟักออกมาเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย ผลทุเรียนที่ถูกหนอนทำลายจะเน่าและร่วง เนื่องจากมีเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ
 
 

ที่มาภาพ : http://thailand.ipm-info.org/pests/Durian_fruit_borer.htm

 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                       1. หมั่นสำรวจแปลงและติดตามสถานการณ์หนอนเจาะผลและศัตรูธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ
          
                       2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมหนอนเจาะผลตามธรรมชาติ
          
                       3. ตัดแต่งผลที่ติดกันเป็นคู่และไม่สมบูรณ์ออก เพื่อป้องกันการวางไข่ของผีเสื้อ และตัดผลที่ถูกหนอนทำลายไปเผา
          
                       4. ใช้กระดาษแข็งหรือกิ่งไม้คั่นผลที่สมบูรณ์ติดกันเป็นคู่ เพื่อป้องกันการวางไข่ของผีเสื้อ และจับตัวหนอนมาทำลาย
ใช้กับดักแสงไฟสีน้ำเงิน - ดำ (black - blue light trap) ล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
          
                       5. ใช้สารกำจัดแมลง เมื่อพบผลถูกทำลายร้อยละ ๑๐ ต่อต้น เช่น
                            - ฟลูเฟนนอกซูรอน 5% อีซี อัตรา 20 - 40  มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514