หนอนชอนใบดาวเรือง
 
เผยแพร่ : วันที่ 18 เมษายน 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Liriomyza brassicae
วงศ์ : Agromyzidae
อันดับ : diptera
ชื่อสามัญอื่น :
   
รูปร่างลักษณะ
                       แมลงวันหนอนชอนใบเป็นแมลงขนาดเล็ก มีลําตัวสีดํามีแต้มสีเหลืองที่หน้า ข้างอกและส่วนอกด้านบน ปีกใสมีขนาด
10 - 20 มล. ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข้ขนาดเล็ก ไว้ใต้ส่วนของเนื้อเยื่อบางๆ ของพืชเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะมีลักษณะหัวแหลมทำยป้าน จะชอนไชใบตามเนื้อเยื่อพืช หากเข้าดักแด้รูปคล้ายเมล็ดข้าวสาร ตามที่ถูกทําลายและตามใบที่ร่วงหล่นลงดิน ขนาดดักแด้ยาว 8 - 10 มล. ในระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 5 - 7 วัน จึงออกเป็นตัวเต็มวัยพวกแมลงวัน
 
ลักษณะการทำลาย
                       หนอนชอนใบที่ทําลายดาวเรืองนับว่าเป็นศัตรูดาวเรืองที่สําคัญที่สุดชนิดหนึ่งเป็นหนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินผิวใบ
ด้านใน รอยทําลายจะเห็นเป็นทางสีขาว โดยจะสังเกตเห็นเป็นทางเดินของหนอนภายในใบ เล็กบ้างใหญ่บ้างตามขนาดของหนอน และ
ระยะการเจริญเติบโตของหนอน หากปล่อยไว้จะเสียหายมากและจะทําให้โรคใบจุดทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากแผลที่หนอนกัดกิน
จะทําให้โรคเข้าทําลายได้ง่ายขึ้น
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                       1. วิธีกล การเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายเนื่องจากแมลงวันหนอนชอนใบตามพื้นดินจะสามารถช่วยลดการแพร่
่ระบาดได้ เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย
          
                       2. สารสกัดจากสะเดา อัตรา 100 พีพีเอ็ม สามารถป้องกันและกำจัดแมลงวัน หนอนชอนใบได้ดี
          
                       3. สารกำจัดแมลง beta - cyfluthin 25% อีซี สามารถกำจัดแมลงวันหนอนชอนใบได้

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514