เพลี้ยไฟกุหลาบ (Thrips)
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips dorsalis Hood
  
Thrips coloratus Schmutz
วงศ์ : Thripidae
อันดับ : Thysanoptera
ชื่อสามัญอื่น :
   
รูปร่างลักษณะ
                        เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมากประมาณ 2 มม. ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ มีทั้งชนิดปีกและไม่มีปีก ชนิดที่มีปีกจะมีปีก 2 คู่ลักษณะคล้ายขนนก ตัวอ่อนมีสีครีมเหลือง หรือเหลืองอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมาก เมื่อถูกรบกวนมักจะวิ่งหลบหนีซ่อนตัว หรือกระโดด หรือบินหนีไปอย่างรวดเร็ว
 
ลักษณะการทำลาย
                         เพลี้ยไฟกุหลาบทั้งตัวอ่อนและตัวแก่จะดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนอ่อนของพืช เช่น ยอดอ่อน   ตาดอก    ทำให้ดอกมีสีซีด เป็นทางขาวๆ หรือมีสีน้ำตาลดำและเหี่ยวแห้ง ทำให้ใบหงิกงอเป็นคลื่น ทำให้ดอกและใบบิดเบี้ยวเสียรูปทรงดอกไม่บานตามปกติทำให้
เสียคุณภาพเพลี้ยไฟมีการระบาดรุนแรงมากในฤดูร้อนช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เคลื่อนที่โดยลมและส่วนมากจะเคลื่อนไหวในเวลากลางวัน ช่วงเวลา 08.00 - 12.00 น.
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                          1. การใช้กับดักเหนียว เพื่อเป็นการพยากรณ์การแพร่ระบาด และลดปริมาณเพลี้ยไฟ
          
                          2. การใช้สารกำจัดแมลง อัตราตามคำแนะนำ เช่น อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอลหรือคาร์โบซัลแฟน 20% พ่นเมื่อ
พบการระบาด หรือพ่นซ้ำตามความจำเป็น
          
                          3. การใช้สารเคมีควรพิจารณาถึงปริมาณเพลี้ยไฟว่ามีความรุนแรงขนาดไหน     หลังพ่นแล้วให้ตรวจสอบอีกครั้งว่า
ปริมาณลดลงหรือไม่ ตลอดจนพืชอาศัยใกล้เคียงซึ่งเป็นแหล่งสะสมด้วย
            
                          4. การพ่นสารกำจัดแมลงก่อนที่ดอกตูมจะบาน หากมีการทำลายเกิดขึ้นแล้วให้เด็ดดอกที่เสียหายทิ้ง

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514