บั่วกล้วยไม้ (Orchid midge)
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Contarinia sp.
วงศ์ : Cecidomyiidae
อันดับ : Diptera
ชื่อสามัญอื่น : ไอ้ฮวบ แมลงวันหนอนชอนดอกกล้วยไม้ แมลงวันดอกกล้วยไม้
   
รูปร่างลักษณะ
                        บั่วกล้วยไม้เป็นแมลงวันชนิดหนึ่ง ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีดำ มีปีก 1 คู่ สีขาวใส ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในเนื้อเยื่อของก้านช่อดอก หนอนที่ฟักออกมามีลักษณะสีขาว ลักษณะรูปร่างค่อนข้างแบน หนอนโตเต็มที่มีสีเหลืองขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ระยะหนอนประมาณ 15 - 20 วัน เข้าดักแด้ในบริเวณดอก ดักแด้มีสีน้ำตาล ระยะดักแด้ 7 - 14 วัน
 
ลักษณะการทำลาย
                         บั่วกล้วยไม้เป็นศัตรูตัวฉกาจของกล้วยไม้ตัดดอก หรือที่ชาวสวนกล้วยไม้เรียกว่า ไอ้ฮวบ   หรือแมลงวันหนอนชอน
ดอกกล้วยไม้   ซึ่งตัวหนอนจะกัดกินกลีบดอกด้านในใกล้บริเวณเกสรทำให้กลีบดอกด้านในนั้นเกิดอาการผิดปกติ    มีผลทำให้ดอกตูม
ชะงักการเจริญเติบโต บิดเบี้ยวหงิกงอ ต่อมาจะมีอาการเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำ และหลุดร่วง อาการเริ่มแรกจะเห็นไม่ชัดเจน โดยบริเวณเดื่อย
จะเปลี่ยนจากสีเขียวกลายเป็นสีขาวซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก หากเป็นมากดอกตูมก็จะเกิดการหลุดร่วงหมดจนเหลือแต่ก้าน
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                          1. หมั่นสำรวจแปลงกล้วยไม้อย่างสม่ำเสมอ
          
                          2. เก็บดอกที่ถูกทำลายเผาทิ้ง เพื่อกำจัดหนอนที่อยู่ในดอก ไม้ควรปล่อยให้ดอกเน่า ร่วงหล่นจากก้านดอก จะทำ
ให้หนอนดีดตัวออกจากดอกและฝังตัวอยู่ตามพื้นดินหรือวัสดุปลูก ซึ่งยากแก่การกำจัด
          
                          3. เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง ดังนี้
                             -ไซเพอร์เมทริน (โฟซาโลน) 28.75% EC อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
                             - คาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 50 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
                             - อิมิดาคลอพริด 10% SL อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514