หนอนเจาะดอกมะลิ (Jessamine Flower caterpillar)
 
เผยแพร่ : วันที่ 18 เมษายน 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hendecasis duplifaseialis Hampson
วงศ์ : Pyraustidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น :
   
รูปร่างลักษณะ
                        ตัวหนอนมีลำตัวขนาดเล็กมีสีเขียว หนอนเจาะดอกมะลิปากหรือหัวมีสีดำ ซึ่งเป็นหนอนขนาดเล็ก ลำตัวมีลายเป็นสีน้ำตาล มีปีก 2 คู่ สีน้ำตาลและมีรอยด่างปลายปีกไม่เรียบ ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆตามกลีบดอก ก้านกลีบเลี้ยงใต้ใบหรือรอยยอดอ่อน ไข่มีลักษณะสีเหลืองใสรูปร่างรี ตรงกลางนูนเล็กน้อย ตัวหนอนตอนเล็กมีสีเหลือง พอโตเต็มที่ลำตัวมีสีเขียวเป็นปล้องๆ จะเข้าดักแด้บริเวณเศษใบมะลิที่ร่วงหล่นตามโคน
 
ลักษณะการทำลาย
                       หนอนจะเจาะดอกเข้าไปกัดกินเกสรอยู่ภายในดอก ทำให้กลีบดอกช้ำเห็นมูลเป็นขุยๆ อยู่ภายใต้ดอก ต่อมาดอกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้งและร่วงหล่น หนอนเข้าทำลายตั้งแต่ขนาดดอกเท่าหัวไม้ขีดไฟ ถ้าไม่มีดอกจะกัดกินใบอ่อนหรือยอดอ่อน จะระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                       1. ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นโดยการเก็บเศษพืชไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการเข้าดักแด้ของหนอนเจาะดอกมะลิ

                       2. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของตัวเต็มวัย
          
                       3. ใช้กับดักแสงไฟดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
          
                      4. ใช้สารเคมีสารกำจัดแมลง เช่น พาร์ซอนหรือไซเปอร์เมทิน + ฟอสซาโลน (cypermetrin + phosalone 28.75%) ไบทรอยด์ หรือ ไซฟลูทริน (cyfluthrin 10%) , เดลต้าฟอส หรือ เดลต้าเมทริน(deltamethrin 3%)  เวอร์ทิเมค หรือ อะบาเมคติน ,โปโล หรือ ไดอะเฟนไธยูรอน ,วาทาบรอนหรือ คลอฟูอะซูรอน ถ้าพบการระบาดพ่นทุก 4 วัน และไม่ควรพ่นสารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้แมลงสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงได้

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514