่โรคเน่าดำ หรือเน่าไส้กล้วยไม้ (Black rot or Phytophthora rot)
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytopthora palmivora
วงศ์ :
อันดับ :
ชื่อสามัญอื่น :
   
ลักษณะอาการ
                       อาการที่โคนต้นเน่าดำเป็นแผลยาว บางส่วนเป็นสีเหลืองและร่วงโรคนี้พบมากในช่วงที่อากาศเย็นมีความชื้นสูงถ้าเป็น
บริเวณรากจะเป็นแผลสีดำเน่าแห้ง ยุบตัวแห้ง หรือเน่าดำในที่สุด
                       1. อาการเริ่มแรกจะเกิดที่บริเวณยอด ลักษณะจะเป็นจุดใส มีน้ำสีเหลืองอยู่ภายใน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำ
ในที่สุด แผลนั้นจะขยายลุกลามอย่างรวดเร็ว และแพร่กระจายไปยังต้นอื่นที่อยู่ใกล้เคียง
                       2. อาการต้นที่ถูกเชื้อเข้าทำลายทางยอดลงมาหรือบริเวณโคนต้น     เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเปรี้ยวคล้ายกลิ่นน้ำส้มสายชู
ลักษณะใบจะเหลืองและเน่าดำหลุดจากต้นได้ง่ายหรือใบเริ่มเหี่ยวย่น ผิดสังเกตอย่างเห็นได้ชัด เมื่อพบอาการดังกล่าวแล้วให้รีบตัดลำ
ต้นของต้นที่ถูกราเข้าไส้ทิ้ง แต่ถ้ารายังลามไม่ถึงยอดของกล้วยไม้สามารถตัดลำกล้วยไม้มาชำต่อได้
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                          1. ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป
          
                          2. ใช้ต้นพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรค
          
                          3. ตรวจและทำความสะอาดโรงเรือนสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคระบาดให้รีบนำออกจากโรงเรือนแล้วเผาทิ้งทำลายทันที

                          4. ช่วงฤดูฝนควรทำหลังคาพลาสติก และงดให้น้ำในช่วงเย็น
          
                          5. เมื่อพบการระบาดของโรคควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ฟอสฟอรัส เอซิด, เมทาแลกซิล หรือฟอสอีทิล
อะลูมิเนียม

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514