่โรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้ (Anthracnose)
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Collectotrichum sp.
วงศ์ :
อันดับ :
ชื่อสามัญอื่น :
   
ลักษณะอาการ
                       ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้   ซึ่งขยายออกเป็นแผลใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น
เนื้อเยื่อที่เป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย   กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะ
แผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น    แผลของกล้วยไม้ดินบาง
ชนิด เนื้อเยื่อของแผลนานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ   ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาขึ้นร่วมภาย
หลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม   อาการเริ่มแรกกล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก  เช่น แคทลียา ลูกผสม
แมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น
 
 
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                          1. เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรค ไปเผาทำลาย เพื่อเชื้อจะได้ไม่แพร่ระบาดไปยังที่อื่นๆ
          
                          2. อย่าให้กล้วยไม้ได้รับแสงแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทำให้ใบอ่อนแอ และเกิดโรคได้ง่าย
          
                          3. พ่นด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตามแนะนำ พ่นเมื่อพบโรคทุก 7 - 10 วัน เช่น
                              - แมนโคเซบ แคปแทน คาร์เบนดาซิม โปรคลอราท อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับแมนโคเซบ อัตรา
40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
                              - สารฟอลเพต อัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514