หนอนเจาะดอกทานตะวัน (American bollworm on Sunflower)
 
เผยแพร่ : วันที่ 18 เมษายน 2559
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicoverpa armigera Hubner
วงศ์ : Noctuidae
อันดับ : Lepidoptera
ชื่อสามัญอื่น : หนอนเจาะสมอฝ้าย
   
รูปร่างลักษณะ
                        ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามส่วนอ่อนๆ ของพืช เช่น ใบ ก้านใบ ไข่มีลักษณะกลมคล้ายฝาชีมีสีขาวนวลเป็นมัน ระยะไข่ 2 - 3 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน หนอนมีด้วยกันทั้งหมด 5 วัย โดยวัยแรกจะมีสีขาวนวล เมื่อเข้าสูงวัยที่สองสีของลายลําตัวเข้มขึ้นเป็นสีนํ้าตาลอ่อน มีตุ่มขนสีนํ้าตาลเข้มเส้นขนดํา หนอนวัยที่สาม ลําตัวมีสีนํ้าตาลปนเขียว เมื่อเข้าสู่วัยที่สี่ ลําตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดําปนเขียว หนอนวัยที่ห้า ลําตัวจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแก่ ระยะดักแด้มีสีนํ้าตาลไหม้ ขนาด 1.8 ซม. ตัวเต็มวัย วัดเมื่อกางปีกยาว 3 - 4 ซม. ตัวเมียปีกคู่หน้าสีนํ้าตาลปนแดง ส่วนตัวผู้สีนํ้าตาลอมเขียว เลยกึ่งกลางปีกคู่หน้าไปทางหน้าเล็กน้อยมีจุดสีนํ้าตาลเข้ม ขนาดโตกว่าหัวเข็มหมุดปีกละจุด ปีกคู่หลังมีแถบสีน้ำตาลที่ปลายปีกพาดต่อกับปีกคู้หน้า สีของปีกคู่หน้าเข้มกว่าปีกคู่หลัง
 
ลักษณะการทำลาย
                        เข้าทําลายดอกทานตะวันตั้งแต่เริ่มมีจานดอกจนถึงระยะที่เมล็ดแก่ โดยผีเสื้อตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว บริเวณดอก ใบ และส่วนอื่นๆ จากนั้นหนอนจะฟักออกมากัดกินบริเวณดอก ซึ่งอาจจะพบที่กลีบดอก กลีบเลี้ยงและเมล็ดจากการที่หนอนเข้าไปกัดกินอยู่ตามส่วนต่างๆ ของดอก โดยปกติจะพบหนอนฝังตัวกัดกินเมล็ดที่กำลังพัฒนาอยู่บริเวณส่วนกลางของจานดอก ถ้าเกิดการระบาดมากๆ จะทําให้จานดอกเสียหายส่งผลโดยตรงกับน้ำหนักผลผลิตที่ได้ นอกจากนี้  หนอนยังชอบกัดกินกลีบดอกและกลีบเลี้ยง โดยเฉพาะกลีบดอกที่มีสีเหลืองเมื่อถูกกัดกินจนหมด ทำให้ไม่สามารถดึงดูดแมลงให้เข้ามาช่วยผสมเกสรได้การติดเมล็ดจะไม่ดีทําให้มีเมล็ดลีบจํานวนมากผลผลิตต่ำลงในที่สุด
 
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้

                          1. หลีกเลี่ยงการปลูกทานตะวันตามพืชที่เป็นอาหารของหนอนเจาะสมอฝ้ายเช่น ฝ้าย หรือข้าวโพดหากจำเป็นต้อง
ปลูกควรทำการไถกลบเศษซากพืชก่อนปลูก
          
                          2. ควรตรวจดูแมลงศัตรูธรรมชาติ หากพบว่ามีอยู่ในไร่ทานตะวันไม่ควรพ่นสารเคมีกำจัดแมลง

 

้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช

 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514