ข่าว/กิจกรรมกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
   
กลุ่มส่งเสริมการวนิจฉัยศัตรูพืช ติดตามสถานการณ์ศัตรูพืขเข้าทำลายผลผลิต (ลองกอง)

   
   
 
 
   

นางศุภลักษณ์ กลับน่วม ผอ.กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช  ร่วมกับนายโชดชัย บุญยัง  หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช  สนง.กษจ.สุราษฎร์ธานี  เข้าพื้นที่ติดตาม
สถานการณ์ศัตรูพืชที่เข้าทำลายผลลองกอง   ณ สวนลองกอง  อ.บ้านตาขุน  จ.สุราษฎร์ธานี   และเก็บตัวอย่างแมลง  ไข่และผลผลิตที่ถูกแมลงเข้าทำลาย
มาทำการวินิจฉัยโดยนางสาววรินทร ชูช่วย นวก.ชำนาญการ ร่วมกับนักกีฎวิทยา กรมวิชาการเกษตร พบว่า แมลงที่เข้าทำลายคือ มวนหญ้า หรือ
Fruit Spotting Bug มีรายละเอียดดังนี้

Family :: Coreidae
Genus :: Paradasynus
Scientific name :: Paradasynus sp.
     
      มวนในสกุลนี้พบทำลายพืชได้หลายชนิด เช่นParadasynus longirostris Haiao, 1965เป็นแมลงศัตรูไม้ผล เช่น ลิ้นจี่และลองกอง (G.K.Waite,2005)
Paradasynus   spinosus  เป็นแมลงศัตรูพืชของอะโวกาโด  (Hung and Jung, 1997) และ Paradasynus rostratus Distant  เป็นแมลงศัตรูของมะพร้าว
(Kurien et al.,1972, 1976, 1979) เป็นต้น

      วงจรชีวิต มวนสกุลนี้จะวางไข่เป็นกลุ่มเรียงเป็นแถวใต้ใบหรือตรงส่วนก้านใบ   ตัวอ่อยฟักออกจากไข่หลังจากวางไข่ได้ประมาณ 7 วัน ตัวอ่อนที่เพิ่งฟัก
ออกจากไข่ใหม่ๆ จะยังไม่พัฒนาในส่วนของปากและอวัยวะอื่นๆ จากนั้นประมาณ 15 วัน ตัวอ่อนก็จะเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตัวอ่อนมีทั้งหมด 5 ระยะ วงจรชีวิต
รวมทั้งหมดตั้งแต่ระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัย 62 - 64 วัน และตั้งแต่ตัวอ่อนระยะสุดท้ายจนถึงสิ้นอายุขัย ประมาณ 7 - 10 วัน

       ลักษณะการเข้าทำลาย  ทำลายพืชได้ทั้งระยะตัวอ่อยจนถึงตัวเต็มวัย  โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงของผลอ่อน  ผลสุก  แล้วเกิดจุดสีดำ
และทำให้ผลร่วง  ซึ่งการเข้าทำลายในลักษณะนี้จะสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตเป็นอย่างมาก  (Kurein et al, 1979)นอกจากนี้ยังพบการว่าเข้าทำลาย
หน่อไผ่หวาน

        แมลงศัตรูธรรมชาติ แตนเบียนไข่ Chrysochalcissa oviceps Boucek และ Gryon sp.
        การป้องกันกำจัด
        1. ใช้สวิงโฉบจับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยช่วงเวลาเช้าหรือเย็น
        2. ใช้สารป้องกันกำจัด Fipronyl 5% (sc)  อัตรา 11.76 cc. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ Carbaryl 0.05% อัตรา 20 cc. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง
            ห่างกัน 7 วัน (Ponnamma et al., 1985 : กรมวิชาการเกษตร)
        3. เก็บกลุ่มไข่ที่อยู่ตามใบวัชพืชไปทำลาย
        4. ใช้กับดักแสงไฟ (light trap) ข้อควรระวังในการใช้กับแสงไฟในสวนผลไม้ อาจเป็นการดึงดูดให้ศัตรูพืชไม้ผลที่เป็นผีเสื้อชนิดอื่นๆ เข้ามาได้


รายงาน /ภาพ ::: กลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช (กวช.) 

เอกสารอ้างอิง

Geoff, K Waite. (2005) Lichi and : Botany, Production and uses. @ CAB Interantion. Department of Primary Industries and Fisheries,
         Queenland, Australia.

Hung, S. C. and Jung, T. M. (1997) Control of the fruitspotting bug on avocado. Agriculture World, 163, 54 - 56 (in Chinese).

Kurien, C., Abraham, V.A. and Abdulla Koya, K.M. (1976) A new enemy of coconut in India. Indian Farming 72 : 12.

Kurien, C., G. B., Abraham, V. A. and Mathen, (1972) Recod of coreid bug (nut crinkler) as a new pest of coconut in India. Current
          Science 41 : 37.

Kurien, C., Abraham, V.A. and Abdulla Koya, K.M. (1979) Studies on Paradasynus rostratus Dist. (Heteroptera : Coreidae) a pest of
          coconut. Placrosym ll : 484 - 503.

Ponnamma, K. N., Kurian, C., Sukumaran, A. S. and Abdullakoya, K. M. (1985) Field Evaluation of BHC, Carbaryl and Endosulfan
          for the control of the coconut coreid bug Paradasynus rostratus Distant. India Coconut Jourmal 15 : 10 - 11.

 
  รายงานข่าว/กิจกรรมย้อนหลัง  
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 940 - 6190 - 1