กอป. ติดตามการขับเคลื่อนงานศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน (ศูนย์นำร่อง) และโรงเรียนเกษตรกรข้าวต้นแบบ ปี 2565

Shortcodes Ultimate

จำนวนผู้เข้าชม : 155

 

วันที่ 15-16 กันยายน 2565 กลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านอารักขาพืชและดินปุ๋ย กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนงานการขับเคลื่อนงาน

ศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน (ศูนย์นำร่อง) ได้แก่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จากผลการติดตามนั้น โดยทางกลุ่มได้มีการผลิตชีวภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยทางกลุ่มมีการผลิตชีวภัณฑ์ 4 ชนิด ได้แก่ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย บาซิลลัส ซับทิลิส และบาซิลลัสทูริงเยนซิส โดยผลิตตามปฏิทินการปลูกพืช นอกจากนี้ยังมีการผลิตบิวเวอเรียชนิดแห้ง ซึ่งได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ศูนย์ยังขาดห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และตู้เย็นสำหรับเก็บรักษาชีวภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนที่ศูนย์จะพัฒนาต่อไป ในส่วนของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลลำตะเคียน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น จากผลการติดตาม ศูนย์มีการผลิตชีวภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย และเมตาไรเซียม ซึ่งมีการผลิตขยายอย่างต่อเนื่อง โดยดูจากการสำรวจพบศัตรูพืชในแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช

ทุกสัปดาห์ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ ขาดตู้เย็นสำหรับเก็บรักษาชีวภัณฑ์ และศูนย์มีการขยายพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์

ชุมชนในอนาคตในส่วนของการติดตามการขับเคลื่อนงาน

โรงเรียนเกษตรกรข้าวต้นแบบ ปี 2565 ได้แก่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

และศูนย์จัดการสัตรูพืชชุมชนตำบลกระแชง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผลจากการติดตามนั้น ทั้ง 2 ศูนย์ เกษตรกรได้รับองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ในเรื่องของการวินิจฉัยศัตรูพืชเบื้องต้น การจำแนกแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติ การจัดการดินและปุ๋ย การฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างดิน การตรวจวิเคราะห์ดินเบื้องต้น การฝึกปฏิบัติการสำรวจแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช การผลิตชีวภัณฑ์ และการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งเกษตรกรได้มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากโรงเรียนเกษตรกรไปปรับใช้ใน

แปลงของตนเองอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ผลของต้นทุนการผลิตในแปลงเรียนรู้และแปลงเปรียบเทียบ ทำให้เกษตรกรสามารถเห็นถึงต้นทุนการผลิตของแปลงเรียนรู้ที่ลดลง สามารถนำไปวางแผนการผลิตในฤดูกาลถัดไป