การสร้างการรับรู้การจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง

Shortcodes Ultimate

จำนวนผู้เข้าชม : 144

วันที่ 5-7 กรกฎาคม 2566 นายวิชัย ตู้แก้ว ผอ.กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย พร้อมนายยุทธการ กองวงค์ ผอ. กลุ่มจัดการศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว ลงพื้นที่สร้างการรับรู้การจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงให้กับเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ โดยแต่ละพื้นที่ประสบปัญหาการตรวจพบด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงจำนวนมาก เนื่องจากเกษตรกรยังไม่มีความรู้ในการจัดการ และไม่มีการจัดการสวนที่ดี ทำให้บางพื้นที่ผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่น และราคาผลผลิตต่ำ จึงได้แนวทางการจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ดังนี้

1 ระยะหลังการเก็บเกี่ยว

– เก็บมะม่วงที่ร่วงหล่นออกนอกแปลง โดยใส่ถุงพลาสติกและตากแดด หรือทำน้ำหมัก หรืออาหารสัตว์

– ทำความสะอาดแปลง โดยกำจัดวัชพืชและเศษซากพืช

– ตัดแต่งกิ่ง

– การใช้เชื้อราเมตาไรเซียม ฉีดบริเวณโคนต้นและลำต้น (แนวทางการศึกษาทดสอบต่อไป)

2 ระยะแทงตาดอก

ติดตั้งกับดักกาวเหนียว โดยประยุกต์ใช้แผ่นพลาสติกใส/แล็ป ทาด้วยกาวเหนียวพันรอบต้นมะม่วง

3 ระยะติดผลอ่อน

พ่นสารเคมี ได้แก่ อิมอดาคอพริด หรือ แลมป์ดาไซฮาโทลิน อัตราตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ทุกๆ 7 วัน จนถึงระยะเข้าไคล