กอป. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ไขปัญหาพื้นที่การระบาดศัตรูมะพร้าว ณ อ.ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์

Shortcodes Ultimate

จำนวนผู้เข้าชม : 74

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ไขปัญหาพื้นที่การระบาดศัตรูมะพร้าว ณ ศาลาหมู่บ้านดอนใจดี ตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน กว่า 30 คน ประกอบด้วย
1. ประธานสมาพันธ์ชาวสวนมะพร้าวไทย ประธานการประชุม
2. ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชาวสวนมะพร้าวไทย
3. นายประมวล พงศ์ถาวราเดช (สส.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) พรรคประชาธิปัตย์
4. ผู้แทนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
5. ผู้แทนพาณิชย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6. ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผอ.ศวพ.จังหวัดชุมพร
7. ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ประอบด้วย กอป. สนง. เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สนง.เกษตรอำเภอทับสะแก และ ศทอ.จังหวัดสุพรรณบุรี
8. เกษตรกรแกนนำและเกษตรกรเจ้าของแปลงในพื้นที่อำเภอทับสะแก อ.บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเด็นปัญหา
1. มีการระบาดซ้ำซากของแมลงศัตรูมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทำให้ความสมบูรณ์การเจริญเติบโตและผลผลิตลดลงประมาณร้อยละ 20 และมีแนวโน้มจะรุนแรงเพิ่มขึ้น การจัดการไม่มีความต่อเนื่องและยังไม่มีความยั่งยืน
2. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดการจัดการที่ถูกต้อง เช่น ปล่อยแตนเบียนไม่เป็นไปตามคำแนะนำทางหลักวิชาการทำให้ไม่ได้ผล เช่น ปล่อยเพียงครั้งเดียวและไม่ต่อเนื่อง ปล่อยไม่กระจายทั่วทั้งแปลง หรือไม่ทำอะไรเลย
3. ในบางสวนไม่พบเจ้าของแปลง ไม่มีการจัดการเบื้องต้นที่ถูกต้องทำให้เป็นแหล่งสะสมการระบาดของศัตรูมะพร้าว
4. เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีศักยภาพในการผลิตแตนเบียนอะซิโคเดสได้เอง โดยต้องการแหล่งรับซื้อเพื่อนำมาควบคุมในพื้นที่ โดยข้อเท็จจริงมีเกษตรกรบางกลุ่มที่สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงเตียนเบียนอะซิโคเดสได้ในพื้นที่แต่เกษตรกรไม่ได้ไปใช้บริการ
5. เกษตรกรยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ขาดการบูรณาการในการให้ความร่วมมือการจัดการของผู้เกี่ยวข้องพื้นที่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่อง
6. ขาดกฎหมาย/กฎระเบียบการจัดการเรื่องการระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าวที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น แปลงที่ไม่จัดการ แปลงไม่พบเจ้าของแปลง การขนส่งมะพร้าวข้ามพื้นที่ที่มีความเสี่ยงศัตรูมะพร้าวโดยไม่ทราบแหล่งที่มา
ข้อเสนอการแก้ไข
ให้หน่วยงานรัฐสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์แตนเบียนอะซิโคเดส และสนับสนุนให้มีแหล่งผลิตแตนเบียนเพื่อจำหน่ายหรือให้บริการแก่เกษตรกร และสนับสนุนงบประมาณเพื่อการแก้ไขปัญหา ให้ต่อเนื่องในระยะแรกเพื่อให้การระบาดแมลงดำหนามมะพร้าวอยู่ในระดับที่รุนแรงลดลง โดยไม่ใช้สารเคมีฉีดเข้าต้นและให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ในอนาคตและยั่งยืน เรื่อง การจัดการแมลงดำหนามมะพร้าวโดยใช้แตนเบียนอะซิโคเดส ในเบื้องต้นในระยะ ปี 2564 – 2565 ให้มีการเสนอจากพื้นที่
1. ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเขียนโครงการของบประมาณจังหวัดจากผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน เช่น พณ.จังหวัด ศูนย์ดำรงธรรม กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
3.ให้มีการสร้างการรับรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการแมลงดำหนามมะพร้าวให้ทั่วถึงเกษตรกรผ่านสื่อ การประชุม จัดอบรม สาธิตสนับสนุนการจัดทำกลุ่มนำร่องผลิตแตนเบียนของชุมชน เช่น ศจช.ที่มีศักยภาพการผลิตแตนเบียนอะซิโคเดส ซึ่งพบว่ามีเกษตรกรของ ศจช.ในพื้นที่สามารถผลิตแตนเบียนอะซิโคเดสได้เพื่อสนับสนุนและบริการให้สมาชิกในพื้นที่ได้แต่ไม่มีการมาติดต่อขอรับบริการ