กอป. ลงพื้นที่ ติดตาม การขับเคลื่อนกิจกรรมด้านอารักขาพืชในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน

Shortcodes Ultimate

จำนวนผู้เข้าชม : 53

 

วันที่ 7 – 10 กุมภาพันธ์ 2565 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย นำโดย นางพรทิพย์ สมวงศ์
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ น.ส.วรนาฏ โคกเย็น นักวิชาการเกษตรชำนาญการ น.ส.ปวีณา คนยงค์
นักวิชาการเกษตรชำนาญการ น.ส.นิธิมา รัตติโชติ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ร่วมกับ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช นำโดย นายธีระศักดิ์ ศรีวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่ และทีมอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน
ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนเกษตรกร ขับเคลื่อนผ่านศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) รวมทั้งได้ติดตามการดำเนินงาน และเยี่ยมชม ศจช.ต้นแบบ ที่กำหนดให้เป็นจุดศึกษาดูงานของประเทศสมาชิกภายใต้โครงการระบบการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง รวมจำนวน 5 จุด ดังนี้

1. ศจช.ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (โรงเรียนเกษตรกรผัก)
2. ศจช.ตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (ศจช.ดีเด่น ระดับจังหวัด ปี 2564)
3. ศจช.ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (ศจช.ดีเด่น ระดับจังหวัด ปี 2564 และกำหนดให้เป็นจุดศึกษา
ดูงานของประเทศสมาชิกกลุ่มแม่โขง-ล้านช้าง)
4. ศจช.ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (โรงเรียนเกษตรกรผัก)
5. กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ผัก ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
(ความร่วมมือระหว่าง กสก. และโลตัส)

ทั้งนี้ คณะติดตามการดำเนินงานฯ ได้ร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินกิจกรรมด้านอารักขาพืช พร้อมร่วมกันให้คำแนะนำแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนาสู่การจัดการศัตรูพืชที่มีความยั่งยืน
และเป็นศูนย์กลางการอารักขาพืชของชุมชน และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องของกระบวนการ/ขั้นตอนการผลิตขยายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชอย่างมีคุณภาพเพื่อนำใช้เองภายในกลุ่มและชุมชน พร้อมร่วมกันเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ซึ่งพบว่าปัญหาหลักของกลุ่มเกษตรกรเป็นเรื่องของการตลาด และช่องทางการจำหน่าย ที่ยังไม่เพียงพอต่อปริมาณการผลิตของสมาชิก ในการนี้ ทีมผู้ติดตามฯสังกัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ ได้บันทึกข้อมูลจากการเสวนา และการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป