🗓 วันที่ 20 เมษายน 2565 นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธุ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
มอบหมายให้นางพัชรมณฑ์ ศิริเลิศวิมล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การระบาดหนอนปลอกเล็ก ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พบว่า …
มีการระบาดในพื้นที่อำเภอท่าฉาง จำนวน 1,523 ไร่ และได้เข้าร่วมงานรณรงค์ป้องกันกำจัดหนอนปลอกเล็กในปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน ณ ลานร้านค้าชุมชนนาวะ ต.เสวียด อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมงาน จำนวน 80 คน และมีนายศักดาพร รัตนสุภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธี…
ในงานมีการบรรยายความรู้ในการป้องกันกำจัดหนอนปลอกเล็กในปาล์มน้ำมันแบบผสมผสาน
โดยศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 แนะนำดังนี้
1.เมื่อเริ่มพบการทำลายเพียงเล็กน้อย ควรตัดทางใบลงมาเผาทำลาย
2. ถ้าพบระยะผีเสื้อเป็นจำนวนมากหรือเมื่อเริ่มพบวัยดักแด้มากขึ้น ให้ใช้กับดักแสงไฟ เพื่อล่อเพศผู้มาทำลาย โดยให้หลอดไฟแขวนอยู่เหนือจากผิวน้ำที่ผสมน้ำยาล้างจาน สูงไม่เกิน 30 ซม.
3. หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ในต้นเล็กอายุน้อย 3-5 ปีสามารถฉีดพ่นด้วยไซเพอร์เมทรินหรือคาร์บาริลฉีดพ่นสารฆ่าแมลง trichlorfon (Dipterex 95% WP) อัตรา 25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
4. ชีววิธี ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis จำนวน 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
*** การฉีดสารเคมีเข้าลำต้นสามารถเจาะลำต้นใช้สารกำจัดแมลงประเภทดูดซึม เช่น
– imidachlorpid 10% W/V SL
– emamectin benzoate 1.92% W/V EC ฯลฯ
ต้นละ 30-50 มิลลิลิตร/ต้น โดยเจาะด้วยสว่าน 2 รู ตรงกันข้ามทำมุมเอียงลง 45 องศา ลึกจากผิวลำต้น 10-15 เซนติเมตร แล้วอุดปากรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมัน
นอกจากนี้มีการจัดฐานการเรียนรู้โดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชสุราษฎร์ธานี แสดงตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่น สารสกัดสะเดา และ Bt สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนอนปลอกเล็กในปาล์มน้ำมันนั้นสำนักงานเกษตรอำเภอท่าฉาง จะดำเนินจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเครือข่าย และร่วมมือกับท้องถิ่น โรงงานปาล์มน้ำมัน เพื่อป้องกันกำจัดหนอนปลอกเล็กต่อไป🌴🌴🌴