กอป.เข้าร่วมกิจกรรม Focus group และลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการไบโอชาร์ ณ แปลงศึกษาของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร

Shortcodes Ultimate

จำนวนผู้เข้าชม : 71

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย นางชัญญา ทิพานุกะ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการดินปุ๋ย มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการจัดการดินปุ๋ย โดยนางสาวกรกัญญา อักษรเนียม นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ นางสาวชนิตา เพ็ชรมณี และนางสาวณัฐณิชา โพธิ์ประจักร์ ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรม Focus group และลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการศึกษาการจัดการดิน ปุ๋ย และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 8 – 10 ธันวาคม 2564
วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เข้าร่วมกิจกรรม Focus group หรือการสนทนากลุ่มครั้งที่ 3 ณ ที่ทำการศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเป็นเกษตรกรเจ้าของแปลงศึกษาทั้ง 3 ราย ท่านเกษตรอำเภอพะโต๊ะและเกษตรอำเภอสวี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ เกษตรกรจากทั้ง 3 อำเภอ คือ อำเภอพะโต๊ะ สวี และอำเภอเมืองชุมพร เข้าร่วม รวมจำนวน 22 คน ทั้งนี้ การสนทนากลุ่มครั้งที่ 3 เป็นการสรุปผลการศึกษาวิจัย ปัญหา อุปสรรค แนวทางการขยายผลเทคโนโลยีไปสู่เกษตรกรในชุมชนทั้งในส่วนของการร่วมวางแผนจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งในเบื้องต้นจังหวัดชุมพรวางแผนจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ วันที่ 26 มกราคม 2565 และมีการตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และเกษตรกร ว่าแม้โครงการฯ จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มีนาคม 2565 แต่จะยังคงศึกษาต่อด้วยการใส่ถ่านปีละหนึ่งครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน และเก็บข้อมูลทุก 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปี
จากนั้นผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มทั้งหมด ลงพื้นที่แปลงศึกษาของนายอรรถพล กล่อมทรง ตำบลปังหวาน อำเภอพะโต๊ะ และแปลงศึกษาของ นายวิบูลย์ อุทัย ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี เพื่อร่วมกันเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของทุเรียน (จังหวัดชุมพรศึกษาในทุเรียนอายุ 3 – 5 ปี) โดยวัดความสูงของต้น ขนาดทรงพุ่ม ขนาดลำต้น และค่า pH ดิน เป็นต้น และวันที่ 10 ธันวาคม 2564 ลงพื้นที่แปลงศึกษาของนายนิมิตร ชูเกิด ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร
เนื่องจากแปลงศึกษาของเกษตรกรทั้ง 3 ราย มีสภาพพื้นที่และรูปแบบการปลูกทุเรียนที่แตกต่างกัน เช่น อำเภอพะโต๊ะ ปลูกแบบยกโคก อำเภอสวี สภาพดินลูกรังจากการถมที่ และอำเภอเมืองชุมพร พื้นที่ลาดเอียงจึงไม่ได้ปลูกทุเรียนแบบยกโคก โดยในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีจะมีการหยิบยกข้อดี ข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรคของการใช้ไบโอชาร์เพื่อการปรับปรุงดิน การออกแบบเตาเผา การเลือกวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กระบวนการเผา การใช้ถ่านไบโอชาร์เพื่อปรับปรุงดินในสภาพแปลงศึกษาทั้ง 3 แห่ง รวมทั้ง แนวทางการขยายผลการใช้งานไบโอชาร์เพื่อการปรับปรุงดินไปสู่พืชชนิดอื่น ให้กับเกษตรกรในขุมชน หรือเกษตรกรผู้สนใจทั่วไปต่อไป