|
โรคไหม้ข้าว (Rice Blast Disease) |
|
เผยแพร่ : วันที่ 25 มกราคม 2559 |
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
: เชื้อรา Pyricularia oryzae Sacc. |
|
|
|
ลักษณะอาการ |
ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2 - 5 มม. และความ
ยาวประมาณ 10 - 15 มม. แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูก
ไฟไหม้
ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลาม
ระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงแก่
ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะ หักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
|
|
|
การแพร่ระบาด |
พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดใน
กลางคืน ลมแรงจะแพร่กระจายโรคได้ดี
|
|
กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีป้องกันกำจัด ดังนี้ |
1. สำรวจแปลงนา อย่างสม่ำเสมอถ้าพบอาการของโรคไหม้ข้าวควรให้ปฏิบัติดังนี้
1.1 ใช้เชื้อบีเอส (บาซิลลัส ซับทีลิส) พ่นอัตราตามคำแนะนำในฉลาก
1.2
ใช้เชื้อไตรโครเดอร์มาอัตรา 1 กก./น้ำ 200 ลิตรพ่น
2. ถ้ามีความจำเป็นให้ใช้สารเคมีพ่นเฉพาะจุดที่พบการระบาด เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อราแพร่กระจายขยายเป็นวงกว้าง
ออกไป สำหรับสารเคมีที่ใช้ ได้แก่
- อิดิเฟนฟอส 50 %์ อีซี อัตรา 20 - 25 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
- บลาสติซิดิน - เอส 2 % อีซี อัตรา 20 - 25 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
- ไตรไซคราโซล 75 % ดับบลิวพี อัตรา 10 - 16 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นในแปลงข้าวที่มีประวัติว่าเคยมีโรคระบาดมาก่อนการใช้สารเคมีพ่นซ้ำกันหลายครั้ง เชื้อราจะต้านทานสารเคมี
หรือดื้อยา ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราต้านทานสารเคมี จึงควรเลือกใช้สารเคมีบางชนิดพ่นสลับกัน ทั้งนี้ในการใช้สารเคมีควรใช้
ด้วยความระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้และสภาพแวดล้อม
3. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม 15 – 20 กิโลกรัมต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
4. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล คาซูกาไมซิน คาร์เบนดาซิม โพรคลอราซ อัตรา
ตามคำแนะนำในฉลาก |
|
 |
ข้อมูล : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช
|