โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... อ้อยในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
 
หนอนกอ
   
 
หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       หนอนจะเข้าลำลายในระยะแตกกอ (อายุ 1 - 4 เดือน) โดยเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับดินและกัดกินเข้าไปในส่วนที่กาลังเจริญของใบอ้อยที่ยังไม่คลี่ ทำให้เกิดยอดแห้งตาย ซึ่งจะพบรอยเจาะเล็ก ๆ อยู่บริเวณหน่ออ้อย และพบระบาดได้มากในสภาพภูมิอากาศที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง ความชื้นต่ำและไม่มีฝน
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. กรณีเป็นอ้อยปลูกใหม่ ควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก

                        2. หลังเก็บเกี่ยวอ้อยแล้วควรใช้ใบอ้อยคลุมดิน ไม่ควรเผาอ้อยในช่วงเก็บเกี่ยว

                        3. กำจัดพืชอาศัย เช่น พง  ข้าวฟ่าง และพืชตระกูลหญ้า

                       4. ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติกรณีหนอนกอสีขาวใช้แตนเบียนไข่ทริคโคแกรมมา (Trichogramma chilonis) อัตรา 12,000 ตัวต่อไร่ และเทเลนอมัส (Telennomus beneficiens Zehntner) อัตรา 100 - 500 ตัวต่อไร่ หรือแมลงหางหนีบ อัตรา 500 ตัวต่อไร่ ติดต่อ 8 ครั้ง

                       5. ฉีดพ่นด้วยแบคทีเรียบีที อัตรา 100 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกเย็น เพื่อทำลายหนอน

                       6. รวบรวมต้นอ้อยที่ถูกเข้าทำลายเผาทิ้ง

                       7. หมั่นสำรวจแปลงเพื่อประเมินสถานการณ์การระบาดของแมลง ทุกต้นทุกแถว ตลอดฤดูการเก็บเกี่ยว 5 ครั้ง  หลังปลูก 45 วัน 3 เดือน 6 และ เดือน 9
 
                      8. ใช้สารฆ่าแมลงไซเปอร์เมทธิน 15% อัตรา 15 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตรหรือเดลตาเมทธิน 3% อัตรา 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
ด้วยหนวดยาว
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                     จะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกอ้อย โดยเจาะกินเนื้ออ้อยตั้งแต่ระยะท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก หรือหน่ออ้อยอายุ 1-3 เดือน หนอนจะกัดกินส่วนโคน ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย ตัวหนอนเข้าทางโคนต้นใต้พื้นดิน เจาะไชเข้ากัดกินภายในลำต้น เมื่อกินจนกลวงมาก ๆ ทำให้อ้อยหักจึงจะเห็นได้ชัดและเมื่อนำท่อนพันธุ์ที่มีหนอนติดไปด้วยก็จะกัดกินอยู่ต่อไป ความเสียหายจึงเกิดขึ้นในแปลงอ้อยที่เก็บไว้ทำพันธุ์ และมักชอบทำลายอ้อยแก่มากกว่าอ้อยอ่อน
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. ควรเก็บหนอนตามรอยไถ 1 - 2 ครั้ง                                                                                                   

                       2. ปลูกพืชหมุนเวียน  เช่น มันสำปะหลัง หรือ สับปะรด
                                                                             
                       3. ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม   คลุกดินก่อนปลูก อัตรา 10 กก.ต่อไร่   กรณีวางลำใช้ราเขียวโรยบนท่อนพันธุ์ก่อนปลูก
หรือถ้าปลูกแล้วปล่อยราเขียวไปกับน้ำตามร่อง                                                                                            
 
                      4. ขุดหลุมดักจับช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายนโดยตัวเมียหลังจากออกเป็นตัวเต็มวัย จะปล่อยสารล่อเพศผู้ ้ออกมาเมื่อตัวผู้เดินตามก็จะตกลงไปในหลุมไม่สามารถขึ้นมาได้ ควรรองก้นหลุมถุงพลาสติกเพราะจะป้องกันการวางไข่ของด้วงหนวดยาว
ได้และเก็บจากหลุมนำไปขายและนำไปปรุงอาหารได้

                      5. กรณีเป็นอ้อยปลูกใหม่ ควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำอุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปปลูก        

                      6. สำรวจแปลงเพื่อประเมินสถานการณ์การระบาดของแมลงทุกต้นทุกแถว ตลอดฤดูการเก็บเกี่ยว 5 ครั้ง หลังปลูก 45 วัน
3 เดือน 6 และ เดือน 9                                                                                                          

                      7. ใช้สารฆ่าแมลง  Fipronil (Ascend 5% SC) ในแหล่งที่มีการระบาด หลังวางท่อนพันธุ์อ้อยแล้วให้พ่นในอัตรา 80 มล.
ต่อน้า 20 ลิตร ใช้ 80 ลิตรต่อไร
 
 
 

ข้อมูลจาก : www.pmc04.doae.go.th/For%20Download/.../05%20Metarhizium.ppt

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514