โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... มะละกอในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
 
เพลี้ยอ่อน
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนของลำต้น ทำให้ใบพืชผิดปกติ ใบบิดหรือหดสั้นทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต ต้นที่โตแล้วจะมีอาการยอดเหลือง ใบมีขนาดเล็ก ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว   ส่วนต้นหรือก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอ
จะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ให้ผลเลย
 
การควบคุมและป้องกัน
                        ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (ฮอร์โมนธรรมชาติ)เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด จำพวกปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ ผสมกับชีวภัณฑ์ กำจัดแมลงเมทา - แม็ก  ฉีดพ่น
 
เพลี้ยไฟ
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       การระบาดของเพลี้ยแป้งจะพบปริมาณมากในช่วงฤดูแล้งเนื่องจากเมื่อความต้องการน้ำของพืชถูกจำกัดลง  ใบที่สร้างขึ้น
ในช่วงแล้ง พบว่าเป็นใบมีกระบวนการเมตาโบลิซึมสูง ทำให้ใบมีคุณค่าทางอาหารสูงด้วยเหมาะต่อสภาวะการเจริญเติบโตของเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งชอบดูดน้ำเลี้ยงของใบที่สร้างในช่วงแล้งมากกว่าในช่วงฝน นอกจากนี้แมลงที่เป็นตัวห้ำและตัวเบียนมีปริมาณลดลงในช่วงนี้ด้วย เพลี้ยสามารถระบาดจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นได้โดยการติดไปกับคน ท่อนพันธุ์ กระแสลม และมด ซึ่งเป็นพาหะนำตัวเพลี้ยแป้งไปเลี้ยง
เพื่อรอดูดกินมูลหวาน ความเสียหายจากการทำลายเพลี้ยแป้งต่อต่อผลผลิตขึ้นอยู่กับระยะกาเจริญเติบโตของมะละกอ  โดยการะบาดของ
เพลี้ยแป้งในช่วงระยะการเจริญเติบโต ( 1 - 4 เดือน) จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตมากกว่าระยะกลาง (4 - 8 เดือน) และปลายของการเจริญเติบโต (8 - 12 เดือน) จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน กิ่งอ่อน และช่อดอกทำให้แห้งเฉาหรือใบผิดรูปร่างและผลผลิตลดลง
 
การควบคุมและป้องกัน
                       พ่นด้วยสารละลายอโซดริน 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น ใบ กิ่งอ่อนและผลทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 2 - 3 ครั้ง และหยุดพ่นสารเคมีอย่างน้อย 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวผล
 
แมลงวันผลไม้
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                        การทำลายเกิดจากแมลงวันทองวางไข่ที่ใต้ผิวมะละกอสุก   (หรือระยะที่ผิวอ่อน)    ตัวอ่อนที่ฟักจากไข่ จะเจริญกินเนื้อ
มะละกอสุกเป็นอาหารทำให้มะละกออ่อนนิ่ม และเละในที่สุด
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. การทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก  แมลงวันผลไม้สามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็วในขณะที่มีพืช
อาศัยอยู่มาก

                       2. การห่อผลไม้  เป็นการป้องกันการเข้าไปวางไขในผลไม้ที่ง่ายที่สุด และได้ผลดีที่สุด  อีกทั้งเป็นวิธีที่ปลอดภัยจากการ
ใช้สารฆ่าแมลง

                       3. การฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลงเป็นการลดปริมาณประชากรของแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลได้
ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันแมลงก็มีการเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่ไม่ได้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเข้าทำลายอีก

                      4. การใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้ สารเคมีที่ใช้เป็นสารล่อนี้จะสามารถดึงดูดได้เฉพาะแมลงวันผลไม้ตัวผู้เท่านั้น เช่น เมทธิล ยูจินอล (Methyl Eugenol) ใช้ล่อ Dacus dorsalis, D.umbrosus คิว - ลัวร์ (Cue - Lure) ใช้ล่อ D.cucurbitae, D.tau ลาติ - ลัวร์ (Lati - Lure) ใช้ล่อ D. latifromnเมด - ลัวร์ (Med - Lure) ใช้ล่อ Ceratitis capitata

                      5. การใช้เหยื่อโปรตีน โดยการนำเอาโปรตีนไฮโดรไลเสท (Protein Hydrolysate) ผสมกับสารฆ่าแมลงมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันผลไม้

                      6. การปล่อยแมลงวันผลไม้เป็นหมันในพื้นที่ โดยจะต้องมีการเลี้ยงแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณมาก   แล้วทำหมันโดยการ
ฉายรังสีแกมมา จากนั้นจึงนำแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันนี้ไปปล่อยในธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณแมลงในธรรมชาติจนหมดไป
 
โรคใบด่างจุดวงแหวน : เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                         - ระยะต้นกล้าเชื้อไวรัสจะเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็นใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูปใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนูถ้ารุนแรงใบจะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้ายและต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต  ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรคจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้มดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย
                          - ผล  มะละกอ อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล 
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. ทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคนี้ที่แสดงอาการอย่างแน่ชัดก่อน โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก
                          
                          2. ปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวน เช่น ปากช่อง1, แขกดำ, ท่าพระ

                          3. บริเวณปลูกมะละกอควรกำจัดวัชพืชให้หมดเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกเพลี้ยอ่อน
 

ข้อมูลจาก : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/guava.pdf
                คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรเรื่อง องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพสู่การเป็น
                           smart office : ไม้ผล.2556. กรมส่งเสริมการเกษตร

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514