โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... ดาวเรืองในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 4 เมษายน 2559
 
 
ไรแดง
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                         ไรแดงจะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบพืชและดอก ใบพืชที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดด่างๆ สีเหลือง แล้วทำให้ใบหงิกงอ ห่อลง    ไรแดงมีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ขนาดเล็กมาก สีแดง ชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หากมีปริมาณมากจะสร้างเส้นใยคล้ายแมงมุม คลุมทั้งต้นทั้งใบ พบการระบาดในช่วงฤดูร้อนหรืออากาศร้อนจัด
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. สำรวจบริเวณยอดของดาวเรืองบ่อยๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบการระบาดของเพลี้ยไฟ
                          
                          2. ตัดแต่งใบที่มีไรแดงอาศัยออกไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณประชากรของไรแดง
                         
                          3. หากมีการระบาดของไรแดงจนไม่สามารถควบคุมได้ให้ใช้สารเคมีในการควบคุมกำจัดและควรใช้สลับกันดังนี้
                              - อะมิทราช 30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
                              - ไดโคโฟล 20 - 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 
เพลี้ยไฟ
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                         เข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ทำให้ใบหงิกงอแล้วห่อขึ้นไม่แตกใบใหม่ จะเห็นรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก พบเห็นมากในตอนกลางวัน ตัวเรียวเล็ก สีน้ำตาล ส่วนมากพบใต้ใบ  หากเป็นช่วงที่พืชขาดน้ำแล้วไม่ทำการป้องกันกำจัดจะทำให้พืชตายได้
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. ในฤดูร้อนการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ในแปลงจะช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟลงได้ เพราะมีความชื้นในอากาศมากขึ้น

                        2. ใช้กับดักกาวเหนียวสีฟ้าหรือสีขาวจะช่วยลดปริมาณของเพลี้ยไฟลงได้ โดยใช้พลาสติกสีฟ้าหรือสีขาว ขนาด A4 ทา
กาวเหนียว ติดเหนือทรงพุ่มต้นดาวเรืองอัตราการใช้ประมาณ  60 - 80 กับดักต่อไร่
                        
                        3. หากมีจำนวนประชากรของเพลี้ยไฟต่ำกว่า 10 ตัวต่อยอด ให้เลือกใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมี

                        4. หากเกิดการระบาดหนักจนไม่สามารถใช้วิธีการข้างต้นในการควบคุมอาจมีการใช้สารเคมีดังต่อไปนี้
                                 - อบาเมกติน 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
                                 - ฟูโนบูคาร์บ 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
                                 - มาลาไธออน 20 - 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
                                 - เฟนิโตไธออน 10 - 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
 
 

ข้อมูลจาก : pirun.kps.ku.ac.th
                http://www.thongchaloem.com
                http://www.marigoldthai.com
                http://agritech.tnau.ac.in/horticulture/

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514