โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... ลิ้นจี่ในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 12 เมษายน 2559
 
 
หนอนเจาะขั้วผล
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       หนอนจะเข้าทำลายผลลิ้นจี่ 2 ระยะ คือ ระยะแรก เมื่อลิ้นจี่เริ่มติดผลประมาณ 1.5 - 2 เดือน จะเจาะเพื่อเเข้าไปกัดกินภายในเมล็ด เมื่อมองดูภายนอกจะไม่เห็นรอยทำลาย เมื่อผ่าดูจะเห็นรอยทำลายทำให้ผลลิ้นจี่ที่ถูกหนอนทำลายไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ และร่วงหล่นหมด   ระยะที่สองเมื่อลิ้นจี่มีขนาดโตหนอนจะเจาะกินบริเวณขั้วผลถ้าสังเกตดูให้ดีบริเวณใกล้ขั้ว จะพบรูเล็ก ๆ ปรากฏอยู่ซึ่งเป็นรูที่หนอนเจาะออกมาเข้าดักแด้อยู่ภายนอก
 
การควบคุมและป้องกัน
                         1. เมื่อลิ้นจี่เริ่มติดผลและมีการร่วงหล่นให้เก็บผลร่วง   มาผ่าตรวจดูภายในเมล็ดว่าสาเหตุที่ร่วงเกิดจากธรรมชาติ หรือ
หนอนเข้าทำลาย ถ้าพบหนอนหรือรอยทำลาย ให้เก็บผลที่ร่วงทุกวันไปเผาทำลายหรือฝังดินให้ลึก

                       2. เมื่อพบการทำลายและพบหนอนพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% WP อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซฟลูทริน 5% อีซี อัตรา 5 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
มวนลำไย
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน   ช่อดอกและผลอ่อนทำให้ใบอ่อน   และช่อดอกแห้ง และร่วงพบการ
การระบาดเป็นประจำทุกปี     ทำความเสียหายให้กับลิ้นจี่ในระยะที่ออกดอกและติดผล จำนวนไข่ และตัวอ่อนมีปริมาณสูงสุดเดือนมีนาคม
และเมษายนตามลำดับ     ส่วนตัวเต็มวัยพบปริมาณสูงสุด 2 ระยะ คือ เดือนกุมภาพันธ์และกรกฎาคม มวนลำไยหรือแมงแกง นอกจากเป็น
แมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของลำไยแล้วยังเข้าทำลายลิ้นจี่เช่นเดียวกัน
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลง
                       
                       2. ในระยะที่ลิ้นจี่เริ่มติดช่อดอก มวนลำไยจะปรากฏตัวออกมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่  ดังนั้น
ควรเก็บรวบรวมไข่ตัวอ่อนน และตัวเต็มวัยนำไปทำลายโดยทำการเขย่าต้นลิ้นจี่ี่หรือลำไยในตอนเช้าตรู่ซึ่งมวนลำไยยังไม่ตื่นตัว  ตัวเต็มวัย
จะทิ้งตัวตกลงมาบนพื้นจากนั้นจึงเก็บทำลายให้ได้มากที่สุด   สำหรับการเก็บไข่ให้เดินสำรวจช่อดอกและใบ      เมื่อพบไข่มวนลำไยก็เก็บ
ทำลายโดยการเผาทิ้ง

                       3. เมื่อช่อดอกเริ่มร่วงและติดผลอ่อนแล้วให้ทำการประเมินจำนวนตัวอ่อนมวนลำไยต่อช่อว่ามีมากหรือไม่ หากเกินระดับ 4 ตัวต่อช่อ  จะทำความเสียหายแก่ผลอ่อนได้ ควรพ่นด้วยสารคาร์บาริล 85% WP อัตรา 45 - 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 
ไรลิ้นจี่หรือกำมะหยี่
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       ไรชนิดนี้ตัวมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ตัวมีขา 4 คู่ คล้ายหนอนู่ทำลายพืชโดยดูดน้ำเลี้ยงจากใบทำ
ให้พืชสร้างขนสีน้ำตาลขึ้นที่ผิวด้านใต้ใบหรือส่วนของพืชบริเวณที่ถูกดูดกินใบพืชจะหงิกงอ  โป่งพองขึ้นเป็นกระเปาะผิวใบภายในกะเปาะมี
ขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมเป็นแผ่นหนาคล้ายพรมตัวไรก็จะอยู่บริเวณกะเปาะนั้นซึ่งไรจะดูดกินนํ้าเลี้ยงมีผลทำให้ต้นลิ้นจี่ขาดนํ้า และลดพื้นที่
ใบในการปรุงอาหารทำให้ผลผลิตลดลงได้ ไรชนิดนี้จะระบาดมากในฤดูแล้ง
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. ถ้าพบการทำลายเพียงเล็กน้อยให้ตัดเผาทำลาย
                        
                        2. พ่นด้วยกำมะถันผง 80% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ20 ลิตรหรือสารอะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตรหรือไดโคโฟล  (18.5 % อีซี) อัตรา 60 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทั้งหน้าและหลังใบ                        

                        3. ควรพ่นสารฆ่าไร (ตามข้อ 2) ทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและเริ่มแตกใบอ่อน พ่นซ้ำอีก 2 ครั้ง ทุก 4 วัน   
 
 

ข้อมูลจาก : http://gap.doae.go.th/toon/4/document/16.pdf ระบบการจัดการคุณภาพ : Gap พืช.ลิ้นจี่.2550.
                          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                 www.agriqua.doae.go.th/plantclinic/Clinic/plant

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514