โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... ฝรั่งในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 11 เมษายน 2559
 
 
แมลงวันผลไม้
   
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       ความเสียหายของแมลงวันผลไม้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ (ovipositor) แทงเข้าไปในผลฝรั่งที่ใกล้สุก ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะอาศัยและชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน
 
การควบคุมและป้องกัน
                        1. ทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก   โดยการรวบรวมผลไม้ที่เน่าเสียจากการถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลายโดยการ
นำไปทำน้ำหมักชีวภาพหรือฝังดินที่ความลึก 50 ซม. ขึ้นไป 
                       
                        2. การห่อผล โดยทั่วไปจะเริ่มห่อผลฝรั่งเมื่อมีขนาดเท่าลูกมะนาว หรือหลังดอกบานแล้ว 1 เดือน ห่อให้มิดชิดไม่ให้มีรู
หรือรอยฉีกขาดเกิดขึ้น มิฉะนั้นแมลงจะเข้าไปวางไข่ได้

                        3. ใช้สารล่อเมทิลยูจินอลร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง   อัตราส่วน 3 : 1 โดยปริมาตร ในกับดักสารล่อเพื่อใช้ล่อแมลงวัน
ผลไม้เพศผู้

                        4. การใช้เหยื่อพิษ  โดยการนำเอายีสต์โปรตีนออโตไลเสท   หรือโปรตีนไฮโดรไลเสทมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันผลไม้
โดยใช้ยีสต์โปรตีนออโตไลเสท หรือโปรตีนไฮโดรไลเสท 800 ซีซี ผสมกับสารเคมีกำจัดแมลง จำนวน 280 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร โดยสามารถนำไปใช้ได้ 2 วิธี ดังนี้
                              - บรรจุลงภาชนะ แล้วนำไปแขวนตามที่ต่างๆ ที่สำคัญต้องแขวนให้สูงพ้นมือเด็ก
                              - ฉีดพ่นโดยใช้หัวฉีดขนาดใหญ่ให้สารละลายเหยื่อพิษที่ฉีดออกมาเป็นหยด   ขนาด 4 - 5 มม. ประมาณ 80 หยด
ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. ส่วนผสมนี้สามารถนำไปพ่นแบบเป็นจุด 2 - 4 จุดต่อต้น   อัตราที่ใช้ 150 - 350 ซีซี ต่อไม้ผล 1 ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดของ
ต้น จะสามารถดึงดูดได้ทั้งแมลงวันผลไม้  ตัวผู้และตัวเมีย
 
เพลี้ยแป้ง
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                        จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน กิ่งอ่อน และช่อดอกทำให้แห้งเฉาหรือใบผิดรูปร่างและผลผลิตลดลง
 
การควบคุมและป้องกัน
                        พ่นด้วยคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มล. ต่อ น้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำหรือ อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตรอย่างใดอย่างหนึ่งสลับกัน
 
 

ข้อมูลจาก : http://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/tree_fruit/guava.pdf
                 คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรเรื่อง องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพสู่การเป็น smart office : ไม้ผล.2556.
                 กรมส่งเสริมการเกษตร

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514