โรค แมลง ศัตรูพืชและการเข้าทำลาย... มะปรางในฤดูแล้ง
 
เผยแพร่ : วันที่ 11 เมษายน 2559
 
 
่โรคราดำ : เกิดจากการทำลายของเชื้อรา
   
 
 
   
ลักษณะการเข้าทำลาย
                       เกิดจากเชื้อราดำที่เจริญเติบโตบนสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานของแมลงปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ของ
พืชถ่ายออกมาตามบริเวณผิวใบหรือส่วนอื่นๆ ของพืช เช่นกิ่งอ่อน ช่อดอก       ดอก และผลซึ่งมักพบบริเวณขั้วผล เชื้อราดำส่วนใหญ่ไม่ได้ทำลายเนื้อเยื่อพืชโดยตรง แต่จะไปบดบังการได้รับแสงของผิวใบทำให้กระทบกระเทือนต่อการสงเคราะห์แสงและ
การปรุงอาหารของใบ
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นในช่วงที่มะปรางเริ่มแทงช่อดอก ให้เข้าสำรวจแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น หากพบในปริมาณสูง (พบจักจั่นมากกว่า 5 ตัวต่อช่อ) ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์บาริล (85% WP) 45 - 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงก่อนมะปรางจะออกดอก หากยังพบการทำลายของเพลี้ยจักจั่นก็ควรฉีดพ่นอีกครั้งในระยะดอกตูม

                        2. ใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา คือ เบนโนมิล 50% WP อัตรา 10 กรัม     ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น
 
แมลงวันผลไม้
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                        ความเสียหายของแมลงวันผลไม้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ (ovipositor) แทงเข้าไปในผลมะปรางที่ใกล้สุก ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะอาศัยและชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่น    ลงพื้น ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้      ผิวเปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรู ที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดิน
 
การควบคุมและป้องกัน
                       1. รวบรวมผลไม้ที่เน่าเสียอันเนื่องมาจากถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลายโดยการนำไปทำน้ำหมักชีวภาพหรือฝั่งดินที่ความ
ความลึก 50 ซม. ขึ้นไป

                     2. การห่อผลด้วยถุงกระดาษเมื่อผลมะปรางอายุ 3 สัปดาห์ หลังดอกบาน ห่อให้มิดชิดไม่ให้มีรูหรือรอยฉีกขาดเกิดขึ้น มิฉะนั้นแมลงจะเข้าไปวางไข่ได้

                       3. ใช้สารล่อเมทิลยูจินอลร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง  อัตราส่วน 3 : 1 โดยปริมาตร   ในกับดักสารล่อเพื่อใช้ล่อแมลงวัน
ผลไม้เพศผู้

                       4. การใช้เหยื่อพิษ  โดยการนำเอายีสต์โปรตีนออโตไลเสทหรือโปรตีนไฮโดรไลเสทมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันผลไม้โดย
ใช้ยีสต์โปรตีนออโตไลเสท หรือโปรตีนไฮโดรไลเสท 800 ซีซี ผสมกับสารเคมีกำจัดแมลง จำนวน 280 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร และนำไปใช้
้ได้ 2 วิธี ดังนี้
                            - บรรจุลงภาชนะ แล้วนำไปแขวนตามที่ต่าง ๆ ที่สำคัญต้องแขวนให้สูงพ้นมือเด็ก
                            - ฉีดพ่นโดยใช้หัวฉีดขนาดใหญ่  ให้สารละลายเหยื่อพิษที่ฉีดออกมาเป็นหยด ขนาด 4 - 5 มล. ประมาณ 80 หยด
ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. ส่วนผสมนี้สามารถนำไปพ่นแบบเป็นจุด 2 - 4 จุดต่อต้น อัตราที่ใช้ 150 - 350 ซีซี ต่อไม้ผล 1 ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดของต้น จะสามารถดึงดูดได้ทั้งแมลงวันผลไม้ตัวผู้และตัวเมีย
 
ด้วงงวงกัดใบมะปราง
 
 
 
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
                          แมลงชนิดนี้จะกัดเฉพาะใบอ่อนเท่านั้น โดยตัวเมียจะวางไข่ด้านบนของใบอ่อน เมื่อไข่เสร็จจะกัดใบห่างจากขั้วใบประมาณ 1 - 2 ซม. เหลือแต่โคนใบทำให้ใบอ่อนส่วนที่มีไข่ติดอยู่ร่วงลงบนพื้นดิน
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. เก็บใบอ่อนที่ถูกด้วงกัดร่วงตามโคนต้น โดยนำไปฝังหรือเผาเพื่อทำลายไข่และตัวหนอน

                         2. พ่นด้วยสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตรหรือสารไซเพอร์เมทริน 2.5% อีซี อัตรา 5 - 10 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
ด้วงเจาะลำต้นมะปราง
 
 
 
 
ลักษณะการทำลาย
                         ตัวหนอนของแมลงชนิดนี้จะเจาะลำต้นหรือกิ่งมะปราง ทำให้ต้นมะปรางชะงักการเจริญเติบโต ตัวเมียหลังผสมพันธุ์จะวางไข่ตามรอยแผลหรือตามเปลือกที่แตก เมื่อไข่ฟักออกเป็นหนอนเริ่มใช้ปากเจาะไชเข้าไปในลำต้นบริเวณที่กัดกินคือเนื้อเยื่อเจริญใต้เปลือกและท่อน้ำท่ออาหาร โดยมีทิศทางไม่แน่นอน เนื่องจากด้วงเจาะลำต้นกัดกินทำลายท่อน้ำท่ออาหาร ทำให้ลำต้นมะปรางอ่อนแอและชะงักการเจริญเติบโตมีผลทำให้ไม่มีการแตกใบอ่อนชุดใหม่ ใบแก่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นทำให้ต้นมะปรางตายอย่างรวดเร็ว
 
การควบคุมและป้องกัน
                         1. ตัดกิ่งที่ถูกด้วงเจาะทำลายและนำไปเผาทิ้ง

                         2. เมื่อพบตัวเต็มวัยซึ่งเป็นด้วงปีกแข็งควรจับและเผาทำลาย

                         3. พ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
เพลี้ยไฟ
 
 
 
 
ลักษณะการทำลาย
                          ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตาใบ ช่อดอก โดยเฉพาะฐานรองดอก และขั้วของผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบว่าใบแตกใหม่แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ สำหรับใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วเพลี้ยไฟจะทำลายตามขอบใบ ใบม้วนงอปลายใบไหม้ ส่วนยอดแห้งไม่แทงช่อดอกหงิกหงอ ดอกร่วงไม่ติดผลหรือติดผลน้อยและเจริญเติบโตเป็นผลที่ไม่สมบูรณ์
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. หมั่นตรวจติดตามสถานการณ์ ถ้าพบไม่มากนักให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง    เพราะเพลี้ยไฟมักจะอยู่กันเป็น
กลุ่มบริเวณส่วนยอดอ่อนของพืช

                          2. ถ้าหากตรวจพบเพลี้ยไฟระบาดเกิน 30% ของช่อต้องพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลงที่แนะนำคือ ไซฮาโลทริน (2.5% อีซี) 7 มล. 20 ลิตร หรือเฟนโพรพาทริน (10% อีซี) อัตรา 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตรหรือคาร์บาริล (85% WP) 45 - 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 
เพลี้ยจักจั้น
 
 
 
 
ลักษณะการทำลาย
                         เพลี้ยจักจั่นจะทำลายใบอ่อน ยอดอ่อน และช่อดอก โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกทำให้ช่อดอกแห้งดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย ในระหว่างการดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายสารที่มีลักษณะเป็นน้ำ เหนียว ๆ ซึ่งมีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบทำให้เกิดการแพร่ระบาดของ ราดำซึ่งทำให้พื้นที่ใบที่เป็นสีเขียวถูกทำลาย และส่งผลทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ใบบิดโค้งงอ ส่วนขอบใบมีอาการปลายใบแห้ง
 
การควบคุมและป้องกัน
                          1. ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง พ่นในระยะก่อนมะปรางออกดอก  และเริ่มแทงช่อดอกอีกครั้ง เมื่อดอกบานแล้ว
ไม่ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงอีก เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อแมลงที่มาช่วยผสมเกสร

                          2. ควรหมั่นตรวจดูช่อดอกมะปรางอย่างสม่ำเสมอหากตรวจพบควรมีการพ่นสารเคมีอีก 1 - 2 ครั้งหลังจากมะปรางติด
ผลแล้ว สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น สารคาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
 
แมลงค่อมทอง
 
 
 
 
ลักษณะการทำลาย
                          ตัวเต็มวัยจะกัดกินใบพืชในช่วงแตกใบอ่อน ลักษณะใบที่ถูกทำลายใบมีลักษณะเว้า ๆ แหว่ง ๆ ถ้ารุนแรงจะเหลือแค่ก้านใบ
 
การควบคุมและป้องกัน
                              1. ตัวเต็มวัยของแมลงค่อมทองมีจุดอ่อน  คือชอบทิ้งตัวเมื่อได้รับความกระทบกระเทือน  ดังนั้นควรใช้สวิงรออยู่ใต้
กิ่งหรือใบ เมื่อเขย่ากิ่งของต้นมะปรางแมลงค่อมทองจะตกลงในสวิง จากนั้นนำแมลงไปทำลายโดยการนำไปฝังหรือเผา

                          2. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงฉีดพ่นในช่วงระยะที่มะปรางแตกใบอ่อน หรือการระบาดของแมลงค่อมทอง ได้แก่ สารคาร์บาริล 85% ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
 
 

ข้อมูลจาก : https://www.gotoknow.org/posts/336054
                http://maprangatbloger.blogspot.com
                สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2552.  52 สัปดาห์รู้แล้วรวย. กรุงเทพฯ

 
 
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 955 - 1626, 02 - 955 - 1514