โดย...ศุภลักษณ์ กลับน่วม :: ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการวินิจฉัยศัตรูพืช

เล่าสู่กันอ่าน...ตอนที่ 1..."ไปทำอะไรกับไต้หวันมา"


                จากที่กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เวียนหนังสือไปยังกลุ่มต่างๆ ภายใต้กองฯ ว่าได้รับหนังสือจากกองแผนงานว่า หน่วยงานใดจะมี
ข้อเสนอโครงการความร่วมมือด้านการเกษตร ไทย - ไต้หวัน ครั้งที่ 5  ให้ทำเรื่องส่งกองแผนเพื่อรวบรวมเสนออธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรพิจารณา   จัดส่งไป
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาอีกครั้ง  แถมยังด่วนมากเลย มีรูปแบบการเขียนและต้องเสนอทั้งภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ    พี่คิดว่าแค่นึกให้ออกว่ามี
ข้อเสนออะไรเพื่อการพัฒนางานอารักขาพืชของเราได้ก็เก่งแล้ว นี่ยังต้องทำ 2 ภาษาอีก แต่ด้วยความที่อยากเสนอโครงการอะไรซักโครงการหนึ่ง เพื่อให้น้องๆ
ในงานอารักขาพืชมีโอกาสได้รู้ได้เห็นงานของประเทศอื่นๆ แล้วนำมาพัฒนาปรับปรุงงานของพวกเราให้เทียบเท่าสากล อีกทั้งอยากให้น้องๆ  ได้ไปต่างประเทศ
เป็นขวัญและกำลังใจอีกทางหนึ่ง ก็เลย...เอา...เขียนก็เขียน ที่นี้มาดูกันนะคะว่าพี่ทำอย่างไรถึงทำได้เสร็จส่งได้ทันและได้โครงการมาแล้ว จึงอยากเล่าสู่กันอ่าน
เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ บ้างนะคะ


                ขี้นแรกเลยค่ะ พี่ต้องทำอย่างเร่งด่วนเพราะกองแผนงานให้เวลาจัดทำประมาณ 1 - 2 วันเท่านั้นคะ พี่จัดการแบบนี้นะคะ
                1. ประสานงานกองแผนงานไว้ก่อนเลยคะว่าเราจะส่งนะคะ รอด้วย
                2. ด้วยความที่เราไม่เก่งเรืองการเขียนภาษาอังกฤษ อย่างนี้ต้องหาพันธมิตรค่ะ  พี่ทาบทามคุณขนิษฐา พงษ์ปรีชา (น้องหญิง)   ซึ่งเป็นข้าราชการ
ของกองเรานีแหละคะ ให้ช่วยแปลภาษาให้ และต้องขอบคุณมากเลยคะ เธอยินดีแปลให้และแปลได้ไพเราะมากเลย เป็นอันว่าถ้าพี่ทำภาษาไทยทันภายในวันนี้
พี่ส่งทันแน่ๆ อยู่ที่ตัวพี่และกำลังใจในการทำแล้วนะ

                ขั้นที่สอง เป็นหน้าที่ของพี่แล้วที่จะต้องคิด คิด คิดและคิด ว่าอะไรที่ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)  มีดีและเราควรไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนและมีความ
ร่วมมือกันในการพัฒนา   เรื่องแบบนี้   หาหัวข้อ พี่เลือกใช้การศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และนั่นคืออาจารย์กู (
Search google) เลยค่ะ  วันนั้นโชดไม่ดีพี่นัด
เอารถเข้าศูนย์ด้วย ก็เลยเอา
notebook  ติดตัวไปเพื่อทำงาน  เพราะเชื่อว่าที่ศูนย์ต้องกระจายสัญญานอินเตอร์เน็ตให้ลูกค้าได้ใช้ และก็เป็นอย่างที่คิดค่ะ พี่เลย
ได้ค้นหาข้อมูลว่ามีอะไรดีๆ   ที่ไต้หวันให้เราศึกษาบ้าง     และพี่ก็พบการรายงานของสถาบัน
The  BureauLf  Animal  and  Plant  Health  Inspection and
Quarantine,  Council  of  Agriculture รายงานถึงเรื่องราวของการพัฒนางานด้านการติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในไต้หวัน อันนี้แหละโดนใจพี่มากเลย เพราะ
การเราจะประสบผลสำเร็จในการควบคุมศัตรูพืช รู้เค้า รู้เรา เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  พี่ได้แนวคิด/หัวข้อแล้วว่า Pest Management System  ต้้งชื่อให้กว้างๆ ไว้ก่อน
รอบนี้เรื่องการวินิจฉัยศัตรูพืช  กับการติดตามสถานการณ์การระบาด  (พี่วางแผนไว้รอบหน้าจะเติมประเด็นอื่น  แต่จะซุกไว้ในห้วข้อใหญ่นี้)  และเขียนคิดเนื้อหา
ปั่นๆๆๆๆๆ จนเสร็จส่ง e - mail ให้ น้องหญิงของพี่จัดการได้ในบ่ายวันนั้น และเราสามคนเพิ่มคุณแสนสุข รัตนผลอีกคนนะคะที่ช่วยเป็นกำลังใจและให้ข้อแนะนำ
ที่มีประโยชน์ ช่วยกันตัดสินใจว่าข้อเสนอนี้ใช้ได้หรือควรปรับปรุงอย่างไร (ขอบคุณด้วยค่ะพี่แสนสุข)

                 ขั้นที่สาม  เราทำสำเร็จค่ะเราส่งงานให้กองแผนงานทันเวลา ทั้งสองภาษา   และเผอิญว่าช่วงนั้นเป็นช่วงเสนอของบประมาณประจำปี 2559 เราก็
เสนอของบประมาณรายจ่ายอื่นเพื่อขอไปตามโครงการนี้เสียบไว้ก่อนเลย จะบอกน้องๆ  ว่าเรายังไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นข้อเสนอของกรมนะคะเราลักไก่ไว้
โดยเชื่อว่าโครงการเราต้องผ่าน เราต้องดันให้ผ่าน


                 จบที่เราส่งข้อเสนอโครงการแล้ว ตอนนี้ก็ไม่ใช้เรื่อของเราแล้วค่ะ แค่รอฟังผลการพิจารณาของอธิบดีค่ะ กองแผนงานก็นำเสนออธิบดีกรมส่งเสริม
การเกษตรพิจารณา แต่ช่างโชดดีมากเลยค่ะ ด้วยเวลาที่เค้าให้เราทำโครงการเสนอขอมันน้อยมากเลยไม่มีใครส่งโครงการเลย มีเฉพาะโครงการของเราเท่านั้น
เราก็เลยได้รับการพิจารณาให้จัดส่งไปในนามกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จิรงเค้าไม่ได้กำหนดนะคะว่าแต่ละหน่วยงานจะเสนอได้กี่โครงการ ก็เสนอกันไป สุดท้าย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะเสนอกี่โครงการ และก็ไม่ได้กำหนดอีกนะคะว่าจะเสนอกี่โครงการ (เรื่องแบบนี้เราต้องคลุกวงในนิดนึงนะคะ
"กติกาเป็นอย่างไร่ สมควรจะสู้รึป่าว"  บางที่ก็ไม่ได้ไปแข่งกับใครเพียงแค่แข่งกับตัวเราเองว่าเราต้องทำให้ดีและสู้จนถึงที่สุดค่ะ)  เอาละคะจบไปตอนหนึ่งแล้ว
กับการเขียนโครงการเสนอ      ต่อไปเป็นการต่อสู้ล้วนๆ   มาอ่านกันต่อเลยคะ การสู้หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า   defense   ใช่มั่ยคะ  การต่อสู้รอบแรกเกิดขึ้นที่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
         

                   ต่อสู้ยกที่ 1 สำนักการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  จัดให้มีการเตรียมการฝ่ายไทย   สำหรับการประชุมคณะทำงานร่วมด้าน
การเกษตรไทย -ไต้หวัน ครั้งที่ 5 พี่ก็ได้รับการทาบทามจากกองแผนงานให้เข้าร่วมประชุมด้วย เพราะพี่เสนอโครงการใหม่ ส่วนโครงการเดิมที่ยังดำเนินการอยู่
ทางกองแผนงานจัดการเอง   และมีบางโครงการที่เป็นโครงการที่ทางไต้หวัดเสนอขอมาก็ต้องไปประชุมเตรียมการด้วย  ผลจากการเตรียมการครั้งนั้น ข้อเสนอ
โครงการเราก็ยังผ่านเข้าไปให้นำเสนอที่ไต้หวันได้  โดยให้แต่ละกรมส่งผู้แทนไป  ซึ่งผู้แทนจะต้องเจรจาได้ทุกโครงการที่เกี่ยวข้องและมีโควต้าให้ไปคนเดียว
พี่ก็สบายใจชัวร์เลยว่าต้องเป็นผู้บริหารหรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นกองแผนงานไปเพราะมีหลายประเด็นมากที่ต้องเจรจา        กลับบ้านสบายใจแล้วว่าถ้าผ่านเป็น
ข้อเสนอไทยไปยังไงก็ต้องได้ ยากที่สุดก็แค่ถ้าเค้าขอมาดูงานของเราด้วยจะเอาอะไรให้เค้าดูกันดี (แต่ช่างมันเป็นเรื่องที่หลังเค้าอาจไม่ขอดูของเราก็ได้)



                    และแล้วเมื่อกลับมาถึงกรมส่งเสริมการเกษตร       ก็ไม่เกี่ยวกับเราอีกนั่นแหละเป็นบทบาทของกองแผนงานในการสรุปเสนออธิบดีให้พิจารณา
ผู้แทนเข้าร่วมประชุม ผลพิจารณาท่านถามแค่ว่าข้อเสนอโครงการใหม่เป็นของหน่วยงานไหนใครเสนอมา แล้วท่านก็บอกว่าให้เค้าไปเจรจาด้วยตนเองเพื่อที่จะ
ได้มีข้อมูลในการเจรจาครบถ้วน และให้เค้าเจรจาในส่วนอื่นๆ ด้วยเลย พอรู้ว่าต้องไปเองนะ ขณะนั้นพี่ไปต่างจังหวัดติดตามงานของตัวเองอยู่ด้วยความสบายใจ สิ่งที่ต้องทำก่อนไปไต้หวัน คือ พาสสปอร์ตเล่มบุคคลธรรรมดา  (เล่มแดง) อยู่หรือไม่   ถ้าไม่มีต้องไปทำด้วยนะ คือว่าโชดดีถ้ามี (ถ้าไม่มีก็กลับกรุงเทพไปทำ
2 - 3 วันก็ได้แล้ว คือ ใจพี่อยากทำงานต่อให้จบค่อยกลับ   ก็เลยต้องแก้ปัญหากันไป)  อีกอย่างต้องมีรูปขนาด 2 นิ้วด้วยนะ อันนี้ไม่มี ทำไงดีก็ใช้วิธี ถ่ายรูปที่
โรงแรม ใช้ผนังห้องน้ำสีขาวเป็นฉาก ส่งไฟล์ให้น้องทางกรุงเทพฯ เอาไปอัดแบบ 4P คือ 1 ใบมี 4 รูป ถูกดีประมาณ 10 บาท(งานนี้คุณนิธิมา รัตติโชติ รับงาน
ไปแต้งส์กิ้วคะนู๋เมย์)  จบไป   เหลือเอาไปประกอบหลักฐานการขอวีซ่าทางออนไลน์   (งานชิ้นนี้ คุณอุษา ทองแจ้ง "น้องจอย" จัดการ)  จนสำเร็จส่งหลักฐาน
ทุกอย่างให้กระทรวงได้ทันตามกำหนด อ้อ...ลืมไปกว่าจะสำเร็จต้องขออนุมัติตัวบุคคลในลักษณะไปใช้เงินที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เรื่องนี้สำเร็จได้ต้อง
มีทีมงานดี คือ เค้าเดินเรื่องให้แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย (ขอบคุณคุณพัฒนเชษฐ์ พินิจสุวรรณ และคุณจิราพร นกแก้ว มากค่ะ)  ทีนี้ก็เตรียมข้อมูลไปเจรจา ทาง
กองแผนงานก็จัดทำข้อมูลท่าทีของกรมส่งเสริมการเกษตรทุกโครงการให้ถือไปเจรจา จบเรื่องในประเทศแล้วค่ะ เดี่ยวอ่านต่อเรื่องต่างประเทศนะคะ


                     ต่อสู้ยกที่ 2  ยกนี้ไปต่อสู้ที่ไต้หวันค่า ใจคอไม่ค่อยดีนะไม่รู้ว่าเราเก่งภาษาอังกฤษแค่ไหน  แต่ก็เคยไปต่างประเทศมาแล้วก็รอดมาได้ทุกครั้ง
เราก็สร้างกำลังใจว่าเราทำได้ไว้ก่อนเลยคะ   (ตรงนี้พี่อยากแนะนำน้องๆ คะว่า  ศึกษาไว้เถอะนะคะภาษาอังกฤษ  ทั้งพูดทั้งเขียน   ซักวันมันจะมีประโยชน์กับ
พวกเรา)   การไปครั้งนี้พี่ไปก้บคณะหลายหน่วยงานมีบางท่านก็รู้จักกันมาก่อนบางท่านก็ไปรู้จักกันที่นั่น   แล้วก็มีผู้ตรวจราชการกระทรวงเป็นหัวหน้าคณะ
ดังภาพคะ

 
                  


                        เล่าบรรยากาศการเจรจา

                        วันแรกพอไปถึงประมาณบ่ายๆ เก็บของที่โรงแรมเสร็จ    เราก็ไปหน่วยงานแล้วก็เริ่มเจรจากันเองระหว่างทีมงานของไต้หวัน   กับทีมงานของ
ไทยแบบเป็นกันเอง   เพื่อจัดเตรียมเป็นเอกสารสำหรับการประชุมวันพรุ่งนี้ผลการเจรจาเรียบร้อยดี   ในแต่ละประเด็นที่นำเสนอทั้งข้อเสนอเดิมและข้อเสนอใหม่
เรียบร้อยนำเข้าที่ประชุมในวันที่ 2


                         วันที่ 2 ช่วงเช้าทีมงานก็ต้องไปดูเนื้อหาที่ทำกันไว้เมื่อวานกับทีมงานไต้หวันอีกรอบว่ายังใช่ตามนั้นหรือไม่   ช่วงบ่ายเป็นการเจรจาจริง ทาง
ฝ่ายไทย (Thai side) มี 9 ชีวิต ทางฝ่ายไต้หวันก็มีมากหน่อย  ในที่ประชุมวงในแต่มีวงรอบนอกอีกจำนวนหนึ่งไม่ได้หันไปมอง ซึ่งวงรอบนอกนี้จะเป็นเจ้าหน้าที่
แต่วงในจะเป็นผู้บริหารของหน่วยงานที่เสนอขอโครงการความร่วมมือและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก้บที่ทางฝ่ายไทยเสนอขอโครงการไป        ผลการเจรจาราบรื่น
หัวหน้าคณะให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานเจรจาเองค่ะ    (เครียดถามหาเลย      ตอนแรกก็แอบคิดนะคะว่าท่านหัวหน้าคณะคงเจรจาเองทั้งหมด    เราแค่เติมเต็มใน
รายละเอียด No เลยจ้า ว่าเองทั้งหมดจ้า)   ได้ข้อยุติ  บางโครงการที่ฝ่ายไทยของยกเลิกเนื่องจากไต้หวันไม่สามารถจัดให้ได้ มีบางโครงการที่ฝ่ายไทยขอเพิ่ม
(คือกรมส่งเสริมการเกษตรนั่นแหละเป็นผู้เสนอขอ)    ทางฝ่ายไต้หวันยินดีจัดให้ได้   เนื้อหารการเจรจาจะเป็นประมาณนี้  เจรจากันจบจนมืด แล้วทีมเลขานุการ
ฝ่ายไต้หวันจัดทำสรุปเพื่อเสนอผลการประชุมตอนสายๆ วันรุ่งขึ้น


                          วันที่ 3 ช่วงเช้าทีมเจรจาก็ต้องไปดูสรุปที่ฝ่ายไต้หวันสรุปให้ แล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีการเจรจาสำหรับการลงนามการเจรจานั้น ยังไม่ได้ลงนาม
เป็นทางการ นำมาลงนามกันที่ประเทศไทย ต่อจากนั้นก็เริ่มการดูงานกันแล้ว ตอนต่อไปพี่จะเล่าเรื่องดูงานให้อ่านนะคะ


                          เสร็จภารกิจการเจรจา สรุปว่า งานของเราเรื่อง  Pest  Management  System  ได้รับการบรรจุให้เป็นโครงการที่ฝ่ายไทยจะส่งเจ้าหน้าที่ไป
ดูงานที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในปีงบประมาณ 2559 และ 2560 ค่ะ เนื้อหาจะเป็นเรื่องของการวินิจฉัยศัตรูพืชและระบบติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชของไต้หวัน


วันที่นำบทความเผยแพร่ :: 7 สิงหาคม 2558

 
 
  เรื่องเล่าจาก...อิสราเอล


โดย...ขนิษฐา พงษ์ปรีชา
17 เมษายน 2558  
ไปทำอะไรกับ...ไต้หวันมา


โดย...ศุภลักษณ์ กลับน่วม
7 สิงหาคม 2558  
เก็บตก..."ไปดูงานไต้หวัน"


โดย...ศุภลักษณ์ กลับน่วม
10 สิงหาคม 2558 
           
Copyright © 2014 กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทร.02 - 940 - 6190 - 1